แพ้อาหารทะเล
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
15-05-2022 14:48
แพ้อาหารทะเล คือ ปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโปรตีนในสัตว์น้ำ ทะเลและสัตว์น้ำจืดบางชนิด ได้แก่ กุ้ง ปู หอยนางรม หอยแครง ล็อบสเตอร์ หรือปลาหมึกชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาการแพ้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
แพ้อาหารทะเล คือ ปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโปรตีนในสัตว์น้ำ ทะเลและสัตว์น้ำจืดบางชนิด ได้แก่ กุ้ง ปู หอยนางรม หอยแครง ล็อบสเตอร์ หรือปลาหมึกชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาการแพ้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
อาการแพ้อาหารทะเล
อาการมักจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ เข้าไป ภายในช่วงเวลาตั้งแต่หลายนาทีหรือเป็นชั่วโมง และอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จากการได้รับสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่เด็กจนค่อย ๆ ก่อให้เกิดอาการเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้บางคนอาจเพิ่งพบว่ามีอาการแพ้ในภายหลัง จากที่แต่ก่อนเคยรับประทานได้ปกติ
อาการแพ้ที่สังเกตได้มีดังนี้
- เกิดลมพิษ รู้สึกคัน หรือมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- คัดจมูก หายใจเสียงดัง หรือหายใจลำบาก - มีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเช่น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ
- ปวดท้อง ท้องเสียคลื่นไส้อาเจียน
- รู้สึกมึนงง วิงเวียน บ้านหมุน หรือคล้ายจะเป็นลม
- ปวดคล้ายเข็มทิ่มในปาก ในผู้ป่วยมีอาการแพ้บางรายอาจมีอาการรุนแรงที่ส่งผลถึงชีวิต โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารที่แพ้ทันที ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วนด้วยการฉีดยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) และนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที อาการแพ้รุนแรง มีดังนี้
- คอบวม หรือมีก้อนในลำคอ ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลงและหายใจลำบาก
- ชีพจรเต้นเร็ว
- วิงเวียนศีรษะอย่างมาก หรือหมดสติ
- มีอาการช็อกเนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมาก
การรักษาอาการแพ้อาหารทะเล
- วิธีป้องกันการแพ้อาหารทะเลที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์น้ำมีเปลือกที่จะทำ ให้เกิดอาการแพ้
- หากพยายามป้องกันแล้วอาจเผลอรับประทานหรือสัมผัสอาหารเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว สำหรับผู้ที่มี อาการแพ้ไม่รุนแรงแพทย์อาจแนะนำ ให้รับประทานยาแก้แพ้ เพื่อช่วยลดอาการแพ้ต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้อาหารทะเลชนิดรุนแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) อย่างเร่งด่วนที่สุด
การป้องกันการแพ้อาหารทะเล
- สำหรับผู้ที่รู้ตัวว่าแพ้อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรวมถึงผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมจากสัตว์น้ำมีเปลือก
- เมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรแจ้งให้ร้านอาหารทราบ เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์เครื่องครัว น้ำมัน และวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาปรุงอาหารไม่มีการปนเปื้อน หรือผ่านการทำอาหารชนิดอื่นมาก่อน
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในร้านอาหารทะเล ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสและปนเปื้อนสูง
- อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของอาหารทะเล และควรระวังผลิตภัณฑ์บางชนิดที่อาจไม่ได้บอกส่วนประกอบอย่างละเอียด เช่น อาหารที่มีเครื่องปรุงรสอาหารทะเล
- ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงบางรายอาจต้องอยู่ให้ห่างจากสถานที่ที่มีการประกอบการเกี่ยวกับสัตว์น้ำมีเปลือก เช่น ตลาดอาหารทะเลสด ร้านอาหารทะเล เพราะแค่เพียงสัมผัส หรือสูดหายใจเอาไอที่เกิดจากการปรุงอาหารก็อาจมีอาการแพ้ตามมาได้
- ผู้ที่มีบุตรหลานแพ้อาหารทะเลควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบเพื่อป้องกันการแพ้จากการสัมผัส หรือ รับประทาน ทางสถานศึกษาควรเตรียมยาเอพิเนฟรินไว้พร้อมสำหรับฉีดตลอดเวลา
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OBS/admin/knowledges_files/25_65_1.pdf