Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

แพ้อาหาร เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

15-05-2022 14:42

จากกรณีที่มีแชร์เรื่องราวเตือนภัย เกี่ยวกับการแพ้กุ้ง ซึ่งผู้แชร์มีอาการแพ้อย่างรุนแรงนั้น พบว่า “อาหาร” เป็นสาเหตุของอาการแพ้ที่พบได้บ่อย โดยกลไกของระบบภูมิต้านทานจะแสดงปฏิกิริยาไม่ต้อนรับออกมา ผ่านอาการแสดงต่างๆ เช่น เกิดอาการชาที่ลิ้น บวม ร้อน หรือเป็นลมพิษหลังจากได้รับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง

ภาพประกอบเคส

จากกรณีที่มีแชร์เรื่องราวเตือนภัย เกี่ยวกับการแพ้กุ้ง ซึ่งผู้แชร์มีอาการแพ้อย่างรุนแรงนั้น พบว่า “อาหาร” เป็นสาเหตุของอาการแพ้ที่พบได้บ่อย โดยกลไกของระบบภูมิต้านทานจะแสดงปฏิกิริยาไม่ต้อนรับออกมา ผ่านอาการแสดงต่างๆ เช่น เกิดอาการชาที่ลิ้น บวม ร้อน หรือเป็นลมพิษหลังจากได้รับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง

รู้ได้อย่างไรว่าแพ้

อาการคันรอบปาก ปากบวมเจ่อ มีผื่นลมพิษตามร่างกาย ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดเยื่อบุทางเดินหายใจบวม แน่นหน้าอก หายใจติดขัด ความดันต่ำ และถึงแก่ชีวิตได้ อาการแพ้เหล่านี้อาจเกิดแบบเฉียบพลันภายใน 2-3 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือเกิดอย่างช้าๆ ภายใน 1-2 ชั่วโมง หลังจากรับประทานอาหารหรือยา เป็นการแพ้ที่ร่างกายแสดงปฏิกิริยาจากหลายระบบของร่างกาย ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • อาการแพ้ที่แสดงออกทางผิวหนัง ที่ชัดที่สุดคือเป็นลมพิษ โดยจะรู้สึกคันๆ ที่ผิวหนัง และจะมีอาการบวม ผิวหนังนูนขึ้นมาเป็นแผ่นๆ และรู้สึกแสบร้อน ซึ่งไม่ใช่การอักเสบ แต่เป็นการแพ้อาหาร
  • อาการแพ้ที่แสดงออกทางระบบทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่ปาก คอ ลงไปถึงกระเพาะ และลำไส้ โดยจะมีอาการปากบวม น้ำลายไหลตลอดเวลา รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และบางรายมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • อาการแพ้ที่แสดงออกทางระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการไอมากจนหอบ และถ้าหอบมากๆ ก็จะมีอาการตัวเขียวอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้

เคยรับประทานอาหารชนิดนี้มาแล้วหลายครั้ง ทำไมเพิ่งเกิดอาการแพ้ กรณีเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยอาจเกิดจาก

  1. สุขภาพของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
  2. การรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ เพราะร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีต่อสารที่รับเข้ามา
  3. อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ก่อให้เกิดอาการคล้ายกับการแพ้อาหารมาก จนทำให้เข้าใจผิด

การป้องกันและการรักษาที่ถูกวิธี

การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาตามอาการ ถ้ามีอาการแพ้ทางผิวหนัง ก็กินยาแก้แพ้ ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ก็คือ ยาคลอร์เฟนิรามีนขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งกินเพียง 1 เม็ด อาการแพ้ก็จะดีขึ้น แต่ถ้ารู้สึกคันมากหรือเป็นลมพิษ ก็ใช้คาลาไมน์โลชั่นทาให้ทั่ว หรือถ้าอาการรุนแรงถึงขนาดหอบมากๆ เป็นหอบหืด ท้องเสีย หรืออาเจียน ก็ต้องรีบไปรักษากับแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วน

ทั้งนี้ วิธีป้องกันที่สุดสำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการแพ้หลังรับประทานอาหารและยา คือ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นปัจจัยกระตุ้น ควรเตรียมยาแก้แพ้ไว้ในกรณีฉุกเฉิน เพราะหากมีอาการรุนแรงจะต้องรีบกินยาทันทีหรือหากไม่แน่ใจควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

ที่มา : (1) กรมการแพทย์ https://bit.ly/3ELlnOK
: (2) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3OxIyAt
: (3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) https://bit.ly/3xPpmbt


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท