Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ปุ่มกระดูกงอกในปาก


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

15-05-2022 14:36

ปุ่มกระดูกงอก มีรูปร่างไม่แน่นอนในแต่ละคน มีความแข็ง พื้นผิวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพูที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่น ๆ ในช่องปาก พบได้ในบางคน แต่ไม่พบในเด็ก โดยจะโตขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามช่วงอายุ และสามารถหยุดโตได้

ภาพประกอบเคส

ปุ่มกระดูกงอก มีรูปร่างไม่แน่นอนในแต่ละคน มีความแข็ง พื้นผิวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพูที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่น ๆ ในช่องปาก พบได้ในบางคน แต่ไม่พบในเด็ก โดยจะโตขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามช่วงอายุ และสามารถหยุดโตได้

ปุ่มกระดูกสามารถพบได้ในบริเวณต่างๆ ของช่องปาก ได้แก่

  • ปุ่มกระดูกบริเวณเพดาน มักจะอยู่บริเวณกึ่งกลางเพดานแข็งในปาก มีขนาดที่แตกต่างกันไป อาจเป็นก้อนเดี่ยวหรือหลายก้อนรวมๆ กัน ทำให้มองดูคล้ายผิวมะกรูด
  • ปุ่มกระดูกงอกบริเวณขากรรไกรล่าง พบบริเวณสันเหงือกด้านลิ้นของขากรรไกรล่าง สามารถพบได้ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา โดยจะอยู่ถัดจากฟันเขี้ยวเข้าไปด้านหลัง
  • ปุ่มกระดูกผิวขรุขระ พบได้ในบริเวณเหงือกด้านชิดแก้มโดยรอบของขากรรไกร

สาเหตุของการเกิดปุ่มกระดูกงอกในปาก ยังไม่แน่ชัด อาจเกิดจากพันธุกรรม เชื้อชาติ เพศ อายุ รวมถึงเกี่ยวข้องกับแรงบดเคี้ยว

เนื่องจากภาวะปุ่มกระดูกงอกไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง หากไม่พบรอยโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยจึงมักจะสังเกตเห็นหรือรู้สึกตัวเมื่อปุ่มกระดูกนั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร

อาการแบบไหนที่ควรเข้ารับการรักษา

  • ปุ่มกระดูกงอกมีขนาดใหญ่ขวางการรับประทานอาหาร ส่งผลต่อการทำความสะอาดจนเกิดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก
  • เนื้อเยื่อที่ปกคลุมบริเวณปุ่มกระดูกงอกเกิดเป็นแผลบ่อยครั้ง หรือเป็นแผลรื้อรังทันตแพทย์ใส่ฟันพิจารณาแล้วว่าปุ่มกระดูกงอกนั้นขัดขวางต่อการใส่ฟันปลอม

วิธีการรักษา

การผ่าตัดเอาปุ่มกระดูกงอกออก ถือเป็นการผ่าตัดเล็ก โดยมากสามารถทำได้ด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ แต่ภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดปุ่มกระดูกงอกขึ้นใหม่อย่างช้าๆ เช่นเดิมได้ ดังนั้น ทันตแพทย์จึงพิจารณาผ่าตัดเฉพาะในผู้ป่วยรายที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น หากผู้ป่วยมีปุ่มกระดูกงอกและมีข้อสงสัยถึงความจำเป็นในการรักษา สามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3LbXhyJ


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท