Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ผู้สูงอายุออกกำลังกาย สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรค


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

13-03-2022 14:41

ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ทั้งอากาศร้อน และฝนตกในบางพื้นที่ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคไข้หวัด เพราะหากป่วยเป็นไข้หวัดแล้วร่างกายอ่อนแอ อาจส่งผลให้มีอาการรุนแรงได้ ดังนั้นลูกหลานควรชวนผู้สูงอายุออกกำลังกายในบ้านสม่ำเสมอตามความพร้อมของร่างกายผู้สูงอายุ

ภาพประกอบเคส

ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ทั้งอากาศร้อน และฝนตกในบางพื้นที่ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคไข้หวัด เพราะหากป่วยเป็นไข้หวัดแล้วร่างกายอ่อนแอ อาจส่งผลให้มีอาการรุนแรงได้ ดังนั้นลูกหลานควรชวนผู้สูงอายุออกกำลังกายในบ้านสม่ำเสมอตามความพร้อมของร่างกายผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ดังนี้

  1. Warm up ร่างกายทุกครั้งก่อนออกกำลังกาย
  2. Cool down ร่างกายทุกครั้งหลังออกกำลังกาย
  3. หลีกเลี่ยงการกลั้นหายใจขณะออกแรง
  4. ควรเริ่มจากเบาก่อน
  5. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการแข่งขันหรือกดดัน

ข้อแนะนำในการออกกำลังกายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวที่ดี มีทั้งหมด 3 ช่วง ดังนี้

  1. ช่วงอบอุ่นร่างกาย โดยการเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ ประมาณ 5-10 นาที เช่น การเดิน หรือย่ำเท้าอยู่กับที่ จากนั้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  2. ช่วงออกกำลังกาย ออกกำลังกาย 15-20 นาที ประกอบด้วย การทรงตัว การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการเสริมสร้างของหัวใจและปอดให้แข็งแรง เช่น การเดิน เต้นรำ ฟ้อนรำ วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน เต้นบาสโลบ รำไทเก็ก รำไม้พลอง เป็นต้น
  3. ช่วงคลายอุ่นร่างกาย ประมาณ 5-10 นาทีประกอบด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ เช่น การเดิน หรือย่ำเท้าอยู่กับที่ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

ข้อดีจากการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ข้อ ดังนี้

  1. ช่วยต้านทานโรค การได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และถูกวิธี ส่งผลให้ร่างกายมีความแข็งแรงและระบบการทำงานภายในร่างกายยังทำงานได้เป็นปกติ
  2. ชะลอการเสื่อมของอวัยวะ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ระบบการทำงานของร่างกายจะเริ่มมีความอ่อนแอลง การออกกำลังกายจึงช่วยให้ความแข็งแรงของระบบการทำงานร่างกาย ได้ทำงานเป็นปกติอีกครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการออกกำลังกายของแต่ละบุคคลด้วย
  3. ช่วยในการทรงตัวและมีรูปร่างดีขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามวัย กระดูกบางลง มวลกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีปัญหาการทรงตัว การเดินและการเคลื่อนไหว ที่อาจมาจากการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป รวมถึงการมีอาการเจ็บปวดตามข้อต่อร่างกายได้บ่อย ๆ ดังนั้น การออกกำลังกายจึงช่วยเพิ่มการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ หรือการฝึกฝนกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทรงตัวให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ครบ 5 หมู่ เพื่อช่วยในการลดน้ำหนักตัวที่จะทำให้มีปัญหาเรื่องการทรงตัวได้ 4.ช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีขึ้น การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีร่างกายและระบบภายในที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยในการสร้างสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย เมื่อไม่มีโรคภัยหรืออาการเจ็บป่วยมารุมเร้า ก็จะช่วยลดความกังวลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย 5.ส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ สิ่งที่เคยทำได้อย่างรวดเร็วในตอนที่ยังหนุ่มสาวก็จะทำได้ช้าลง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การลุก การนั่ง หรือกิจกรรมที่อาศัยการเคลื่อนไหวร่างกายมาก ๆ ก็จะทำได้ไม่ไหว การออกกำลังกาย จึงช่วยให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ เนื่องจากการมีร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/170619/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท