Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วิ่ง 30 นาที ร่างกายได้อะไรบ้าง


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

15-05-2022 14:13

การวิ่งอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพนั้น อาจต้องวิ่งติดต่อกันเป็น เวลา 30 นาที หรือ 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น โดยไม่ต้องหยุด และทุกครั้งที่วิ่งเรียกเหงื่อ เซลล์ในร่างกายจะเริ่มทำงานและก่อให้เกิดปฏิกิริยาห่วงโซ่ ยิ่งวิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจ เปรียบเสมือนร่างกายได้รับการฟื้นฟูมากขึ้นเท่านั้น

ภาพประกอบเคส

การวิ่งอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพนั้น อาจต้องวิ่งติดต่อกันเป็น เวลา 30 นาที หรือ 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น โดยไม่ต้องหยุด และทุกครั้งที่วิ่งเรียกเหงื่อ เซลล์ในร่างกายจะเริ่มทำงานและก่อให้เกิดปฏิกิริยาห่วงโซ่ ยิ่งวิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจ เปรียบเสมือนร่างกายได้รับการฟื้นฟูมากขึ้นเท่านั้น

สิ่งที่ร่างกายจะได้รับเมื่อวิ่งอย่างน้อย 30 นาที

  1. เริ่มออกวิ่ง กล้ามเนื้อจะเริ่มผลิตอะดีซีนไตรฟอสเฟต (ATP) เป็นโมเลกุลที่ให้พลังงานสูงแก่เซลล์ ซึ่งเราได้รับจากการสลายอาหาร

  2. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ใน 90 วินาทีแรก เพราะเซลล์ในร่างกายจะย่อยสลายไกลโคเจน หรือ กลูโคสรูปแบบหนึ่งที่ร่างกายสะสมไว้ตามกล้ามเนื้อ และดึงกลูโคสจากเม็ดเลือดมาใช้ผลิต ATP จึงเป็นเหตุผลว่าการออกกำลังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

  3. ใน 2-3 นาทีถัดมา หัวใจเต้นเร็วขึ้น สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ ยกเว้นอวัยวะส่วนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายในขณะนั้น ช่วงนี้จะหายใจหอบถี่เพราะเซลล์กล้ามเนื้อพยายามดึงออกซิเจนเข้าร่างกายเพื่อเผาผลาญกลูโคส ร่างกายจะเริ่มเผาผลาญแคลอรี่และไขมัน ส่วนเกินที่สะสมเอาไว้ (นักวิ่งจะเผาผลาญได้ 100 แคลอรี่ต่อระยะทาง 1.6 กิโลเมตร) การเผาผลาญที่มากขึ้น ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น เพื่อลดความร้อน ระบบหมุนเวียนเลือดจะเปลี่ยนเส้นทางไปที่ผิวหนังแทน ใบหน้าจึงมีเลือดฝาด ต่อมเหงื่อเริ่มผลิตความชื้น เพื่อไม่ให้ร้อนจนเกินไป

  4. รู้สึกสดชื่นขึ้น และแข็งแกร่งใน 10 นาที (หากคุณฟิตจริง) ถ้ากล้ามเนื้อและแหล่งผลิต ATP ในร่างกายยังคงมีเพียงพอ และดึงออกซิเจนมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเผาผลาญไขมันและกลูโคสได้ด้วยแต่ถ้าคุณไม่ได้ออกกำลังกายมานาน ATP จะไม่สูงขึ้นเท่าที่ร่างกายต้องการ คุณจะเริ่มหายใจไม่ออก หรือดึงออกซิเจนมาใช้ไม่ทัน กรดแลคติกก็หลั่งไปทั่วร่างจนคุณล้าแทบก้าวขาไม่ออก

  5. เมื่อหยุดวิ่งหลัง 30 นาที ให้วิ่งช้าลงจนกลายเป็นการเดิน การใช้พลังงานจะลดต่ำ อัตราการหายใจเริ่มกลับสู่ปกติ สมองถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนโดพามีน ซึ่งเป็นสารที่สร้างความเบิกบานใจ ถึงตอนนี้แม้คุณจะอยากกินของหวานบ้างก็ไม่มีปัญหา เพราะร่างกายได้สร้างแหล่งไว้เก็บไกลโคเจนเรียบร้อยแล้ว แคลอรีส่วนเกินจึงไม่ถูกเก็บไว้ในรูปไขมัน

ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
https://bit.ly/3MaqFpd


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท