รู้จักโรคระบาดใหญ่ – โรคประจำถิ่น หลังลดระดับโควิด
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: โควิด
15-05-2022 14:05
โควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ที่สามารถกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ โดยเชื้อจะต้องอยู่กับคนได้ ความรุนแรงลดลง ติดเชื้อแล้วไม่เสียชีวิต การที่จะเปลี่ยนสถานะจากการระบาดใหญ่มาเป็นโรคประจำถิ่นได้นั้น ต้องประเมินจากหลายปัจจัย แต่โดยรวมแล้วพอจะอธิบายได้ด้วยคำว่า “ใช้ชีวิตร่วมกับโรคได้”
หลังจากที่ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ ปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น โดยจะเริ่มวันที่ 1 ก.ค.นี้ ซึ่งมีการแบ่งระยะของโควิดเป็นโรคประจำถิ่น 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.) Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง
- ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ
- ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) Declining การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน
- ระยะ 4 (ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป) Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น
“การระบาดใหญ่” กับ “โรคประจำถิ่น” แตกต่างกันอย่างไร
- การระบาดใหญ่ (Pandemic) คือ เชื้อโรคที่ระบาดไปทั่วโลกที่ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งคาดการณ์ได้ยาก เช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และล่าสุดคือการระบาดของโรคโควิด-19
- โรคประจำถิ่น (Endemic) คือ โรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่ อาจเป็นเมือง ประเทศ กลุ่มประเทศ หรือทวีป และมีอัตราป่วยคงที่และคาดการณ์ได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกในประเทศไทย
โควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ที่สามารถกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ โดยเชื้อจะต้องอยู่กับคนได้ ความรุนแรงลดลง ติดเชื้อแล้วไม่เสียชีวิต การที่จะเปลี่ยนสถานะจากการระบาดใหญ่มาเป็นโรคประจำถิ่นได้นั้น ต้องประเมินจากหลายปัจจัย แต่โดยรวมแล้วพอจะอธิบายได้ด้วยคำว่า “ใช้ชีวิตร่วมกับโรคได้”
กุญแจสำคัญที่ทั่วโลกสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคได้ นั่นคือ การฉีดวัคซีน
ปัจจุบันประเทศ ไทยวางแผนจะลดระดับโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่นในอีก 4 เดือนข้างหน้า ซึ่ง ไม่ได้หมายความว่าเป็นการลดระดับการป้องกันการติดต่อ และยังต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งคัด ทั้งใส่หน้ากาก เลี่ยงการอยู่ในหมู่มาก ล้างมือบ่อยๆ ตรวจ ATK ฉีดวัคซีน เพื่อทำให้อัตราเสี่ยงลดลง
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3rd67Vi