Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

15-05-2022 08:58

ภาวะที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ อาจจะเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป หรือว่าเต้นไม่เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ

ภาพประกอบเคส

คือ ภาวะที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ อาจจะเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป หรือว่าเต้นไม่เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ

อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการใจสั่น ใจหวิวๆ เป็นลมหน้ามืดหมดสติ หรือมีอาการเนือยร่วมด้วย หรือมีอาการหัวใจกระตุก รู้สึกไม่สบายในอก

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ส่วนใหญ่เกิดจากไฟฟ้าหัวใจ ร่างกายจะมีหัวใจที่เป็นอวัยวะที่สามารถสร้างไฟฟ้าได้เอง จะเกิดขึ้นจากการที่หัวใจสร้างไฟฟ้าช้าผิดปกติหรือสร้างไฟฟ้าเร็วผิดปกติ หรือมีจะกำเนิดจากที่ที่ไม่ควรจะกำเนิดมา
  • สาเหตุส่วนใหญ่ นอกจากตัวหัวใจเอง อาจจะมีปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เบื้องต้นการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการติดอุปกรณ์ไว้ที่หัวใจและแขน ขา ทั้งสองข้าง และมีแผ่นกระดาษที่ปริ้นออกมา แล้วทำให้เราเห็นเป็นคลื่นไฟฟ้า หรืออาจมีการเอาอุปกรณ์ติดไปบ้านให้ไปทำกิจวัตรประจำวัน แล้วติดไว้อาจจะ 24 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมง หรือแล้วแต่เครื่อง หรืออาจจะมีการเจาะเลือดหาสาเหตุอื่นๆ หรืออาจจะมีการเดินสายพานดูสมรรถภาพหัวใจ หรืออาจะมีการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อดูว่าการทำงานของหัวใจเป็นอย่างไร

นอกจากนั้นแล้วสุดท้ายถ้าเกิดยังหาสาเหตุไม่พบ อาจจะมีการทำการสวนหัวใจเข้าไปดูภาวะการเดินวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ

การรักษา เช่น ยา หรือปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นที่มีอาการให้ใจสั่นเหล่านี้ ก็ต้องงดที่สาเหตุ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ งดดื่มกาแฟ อะไรเหล่านี้ แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ก็จะมีการสวนหัวใจเข้าไป แล้วก็จี้ที่มันลัดวงจรนั้น ถ้าสาเหตุเกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือด เราก็จะรักษาภาวะหัวใจขาดเลือด หรือถ้าสาเหตุนั้นแก้ไขไม่ได้ เช่น ไฟฟ้าเต้นผิดปกติเต้นรัวก็จะต้อง ซ็อตหัวใจ ก็อาจจะต้องใส่อุปกรณ์ เข้าไปในหัวใจแล้วก็ช็อตไฟฟ้า อย่างไรก็แล้วแต่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ก็เป็นโรคที่มีอันตรายน้องถึงอันตรายมาก อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องส่งมาปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจ

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
https://bit.ly/363gmEe


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท