Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ตรวจเต้านมง่ายๆ ด้วยตนเอง ป้องกันความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านม


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

15-05-2022 08:40

โรคมะเร็งเต้านม พบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย ซึ่งจากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ระบุว่า มีผู้ป่วยเฉลี่ยรายใหม่ 18,000 คนต่อปี หรือ 49 คนต่อวัน มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน

ภาพประกอบเคส

โรคมะเร็งเต้านม พบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย ซึ่งจากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ระบุว่า มีผู้ป่วยเฉลี่ยรายใหม่ 18,000 คนต่อปี หรือ 49 คนต่อวัน มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน

กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม

  • หญิงที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • เคยตรวจพบก้อนบริเวณเต้านม
  • มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
  • เคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกก่อนอายุ 30 ปี
  • สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย โดยพบว่าผู้หญิงอายุ 15 - 49 ปี ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น10 กิโลกรัม จะมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปทุกคนควรตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งจะทำให้รู้ถึงสภาพที่เป็นปกติของเต้านม หากเกิดความผิดปกติของเต้านมจะสามารถพบได้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดย

การตรวจเต้านมทำได้ 2 วิธี คือ

  1. วิธีที่ 1 ดูด้วยตา คลำด้วยมือ ซึ่งการคลำมี 3 แบบ จะเลือกใช้แบบใดก็ได้ แต่ต้องให้มั่นใจว่าครอบคลุมเนื้อเยื่อเต้านมทั้งหมด ทั้งขอบด้านล่างเสื้อชั้นใน บริเวณหัวนม บริเวณใต้รักแร้ และไหปลาร้า อย่ายกนิ้วขึ้นจากเต้านมขณะคลำ
  2. แบบที่ 1 การคลำในแนวขึ้นลง จากบริเวณกระดูกไหปลาร้าจนถึงด้านล่างของทรวงอก โดยคลำจากใต้รักแร้ หรือตำแหน่งใต้แขนจนถึงฐานของเต้านม แล้วขยับนิ้วทั้งสามคลำในแนวขึ้นลง และสลับกันไปเรื่อย ๆ ให้ทั่วทั้งเต้านม
  3. แบบที่ 2 การคลำแบบแนวก้นหอย เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมบริเวณลานหัวนมไปตามแนวก้นหอย จนกระทั่งถึงฐานเต้านม ครอบคลุมถึงบริเวณรักแร้ และไหปลาร้า
  4. แบบที่ 3 การคลำแบบแนวรูปลิ่ม เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมบริเวณลานหัวนมจนถึงฐานแล้วกลับขึ้นสู่ยอด อย่างนี้เรื่อย ๆ ให้ทั่วทั้งเต้านม ครอบคลุมถึงบริเวณรักแร้ และไหปลาร้า นอกจากนี้ ควรคลำเต้านมให้ได้ 3 ระดับ ดังนี้ กดเบา ให้รู้สึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง กดปานกลาง ให้รู้สึกถึงบริเวณกึ่งกลางเนื้อนม และกดหนัก ให้รู้สึกถึงเนื้อนมใกล้กระดูกหน้าอก เมื่อคลำพบก้อนที่โตระยะขนาด 2 - 5 เซนติเมตร อัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ 75 – 90 แต่หากคลำพบก้อนขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป อัตราการรอดมีเพียงร้อยละ 15 - 30 เท่านั้น

2.วิธีที่ 2 การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) สามารถพบก้อนได้ตั้งแต่ขนาด 2 - 3 มิลลิเมตรขึ้นไป

จากข้อมูลของมูลนิธิถันยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พบว่าระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่มะเร็ง ยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อของเต้านม ผู้ป่วยจะมีอัตรารอดชีพ ร้อยละ 100 และเมื่อมะเร็งลุกลามไปยังเนื้อเยื่อของเต้านม อัตรารอดชีพจะลดลงตามขนาดก้อนมะเร็งที่โตขึ้น ตั้งแต่ขนาด 2 - 5 เซนติเมตร จนถึงระยะที่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ผู้ป่วยจะมีอัตรารอดชีพร้อยละ 16

ดังนั้นการตรวจเช็คร่างกายตนเองและพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสำคัญ รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารที่มีไขมัน ควบคุมไม่ให้มีน้ำหนักเกิน จะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้

ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3r0zASe


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท