หญิงรักหญิงก็เสี่ยงเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
หมวดหมู่หลัก: LGBTQ
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
08-03-2022 11:43
ความรักเป็นสิ่งสวยงามเสมอไม่ว่าจะเกิดขึ้นระหว่างหญิงกับชาย ชายกับชาย หรือ หญิงกับหญิง การแสดงความรักต่อกันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเพื่อเติมเต็มความสุขให้การดำเนินชีวิต ซึ่งแสดงออกได้หลายอย่างตั้งแต่ การพูดคุย การโอบกอด การสัมผัสภายนอก ไปจนถึงการมีเพศสัมพันธ์
ความรักเป็นสิ่งสวยงามเสมอไม่ว่าจะเกิดขึ้นระหว่างหญิงกับชาย ชายกับชาย หรือ หญิงกับหญิง การแสดงความรักต่อกันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเพื่อเติมเต็มความสุขให้การดำเนินชีวิต ซึ่งแสดงออกได้หลายอย่างตั้งแต่ การพูดคุย การโอบกอด การสัมผัสภายนอก ไปจนถึงการมีเพศสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ทางเพศดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดกามโรค เพราะมีความหลากหลาย ดังนี้
- รสนิยมและพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงเพียงอย่างเดียวหรือทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง
- คู่นอนคนก่อนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจพฤติกรรมเสี่ยง
- ใช้อุปกรณ์ประกอบในกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้อื่น
- เคยมีคู่นอนเป็นผู้ชาย
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนี้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.โรคติดเชื้อระหว่างผู้หญิงกันเอง ได้จากการสัมผัสเป็นหลัก ได้แก่ ไวรัสเอชพีวีที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ เริม และตกขาวกลิ่นเหม็นในช่องคลอด
2.โรคที่เกิดจากอดีตคู่นอนคนที่เป็นผู้ชาย สามารถเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ทุกโรค ตั้งแต่หนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส และอื่นๆ
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การใช้อุปกรณ์เสริมทางเพศ (Sex toy) หากใช้ร่วมกันหลายคนโดยทำความสะอาดไม่ดี ผลจะเหมือนกับพฤติกรรมสำส่อนทางเพศกับผู้ชายได้
- ไวรัสเอชพีวี เป็นการถ่ายทอดทางผิวหนังกับผิวหนัง หรือ ผิวหนังกับเยื่อบุ สามารถตรวจเจอเชื้อจากปากมดลูก ช่องคลอด และอวัยวะเพศภายนอก รวมถึงเซลล์ก่อนมะเร็งของปากมดลูก ได้ถึงร้อยละ 13-30ของกลุ่มหญิงรักหญิง ดังนั้น กลุ่มนี้ยังคงสมควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเช่นเดียวกับหญิงทั่วไป
- โรคเริม พฤติกรรมการใช้ปากกกับอวัยวะเพศอาจทำให้มีการถ่ายทอดเชื้อเริมที่ริมฝีปากไปสู่บริเวณอวัยวะเพศได้
- ตกขาวกลิ่นเหม็นในช่องคลอด ปกติตกขาวมีภาวะเป็นกรดแต่หากมีการใช้ปากร่วมด้วย น้ำลายซึ่งมีภาวะด่างจะทำให้สมดุลในช่องคลอดเสียไป ตกขาวจึงมีกลิ่นเหม็นเน่าขึ้นมาจนจำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยให้สังเกตอาการเมื่อผิดปกติจึงรักษา และดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เช่น การล้างอุปกรณ์การมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งหลังใช้
โดยสรุปคือ ไม่ว่าจะมีพฤติกรรมทางเพศอย่างไรก็มีโอกาสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทั้งนั้น และเมื่อเป็นโรคใดโรคหนึ่งแล้ว ผู้นั้นก็ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ป่วยคนอื่น
ที่มา : หน่วยโรคติดเชื้อทางนรีเวชและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สตรี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=902