พฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
14-05-2022 15:49
ปัญหาปวดใจของคนที่อยากมีลูก แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไงก็ไม่มี ถ้าเป็นแบบนี้ต้องลองสังเกตพฤติกรรมของตัวเองแล้วว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีลูกยากบ้างหรือไม่
ปัญหาปวดใจของคนที่อยากมีลูก แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไงก็ไม่มี ถ้าเป็นแบบนี้ต้องลองสังเกตพฤติกรรมของตัวเองแล้วว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีลูกยากบ้างหรือไม่
พฤติกรรมไหนเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยากบ้าง
-
อายุที่มากขึ้น มีผลต่อการมีบุตรยากโดยตรง – ผู้หญิง หากอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสตั้งครรภ์ลดลง เนื่องจากคุณภาพและปริมาณของไข่ลดลงไปเรื่อย ๆ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม – ผู้ชาย เมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ฮอร์โมนเพศชาย การมีกิจกรรมทางเพศ และปริมาณน้ำเชื้ออสุจิมีคุณภาพลดลง
-
การมีน้ำหนักตัวเกิน โดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อ 2 เมตร ทำให้ฮอร์โมนจากต่อมสมองส่วนหน้า ที่ทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานขัดข้อง
- การมีโรคประจำตัวบางชนิด และต้องกินยา อาจมีผลข้างเคียงต่อการทำงานของฮอร์โมนสืบพันธุ์
- การสูบบุหรี่ สารนิโคตินของบุหรี่จะไปเพิ่มสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ส่งผลต่อคุณภาพของไข่ในผู้หญิง คุณภาพและปริมาณอสุจิจะลดลงในผู้ชาย
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป ทำให้การดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุลดลง ส่งผลให้ปริมาณอสุจิที่แข็งแรงลดลง และยังทำให้ปริมาณของอสุจิลดลงด้วย
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ในหนึ่งวันไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 300 มิลลิกรัม หรือกาแฟ 3 แก้วนั้นเอง
- การรับประทานอาหารในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม ประเภทอาหารขยะ (junk food) อาหารหวาน อาหารที่มีน้ำมันเยอะ บริโภคผักผลไม้น้อย
- การไม่ออกกำลังกาย หากไม่ออกกำลังกายการเผาผลาญพวกแป้งและไขมันจะแย่ลงซึ่งสัมพันธ์กับภาวะอ้วน
- มีความเครียด อาจส่งผลไปถึงการนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะทำมีผลไปถึงการตั้งครรภ์
- การมีคู่นอนหลายคน นอกจากมีลูกยากแล้ว ยังเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิด และการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคมะเร็งปากมดลูก โรคบางชนิดอาจเกิดภาวะหนองใน หนองในเทียม ทำให้มีบุตรยาก หรือเป็นหมั่นถาวร
- ภาวะปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ และภาวะตกขาวในผู้หญิง ควรได้รับการตรวจประเมินเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุบางชนิด สัมพันธ์กับการมีบุตรยาก
- ปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย และปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิ เป็นภาวะที่รักษาได้ โดยมีการรักษาหลากหลายรูปแบบเพื่อการมีบุตร
ทั้งนี้หากคู่รักใดมีปัญหาการมีลูกยากไม่ต้องกังวลใจ เพราะปัจจุบันความก้าวหน้าเทคโนโลยีการแพทย์มีหลายวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูก แต่พฤติกรรมดังกล่าวก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยนะ เพราะไม่ได้แค่ส่งต่อแค่การมีลูกยาก แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมด้วย
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3rZ6B1B