Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ปากแหว่งเพดานโหว่


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 15:13

ปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip and cleft palate) เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ประมาณ 1- 2 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน โดยพบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 700 – 800 คนต่อปี

ภาพประกอบเคส

ปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip and cleft palate) เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ประมาณ 1- 2 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน โดยพบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 700 – 800 คนต่อปี

สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น - การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ - ปัจจัยภายนอกที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหาร ผลข้างเคียงของยาหรือสารเคมีบางอย่าง รวมถึงการติดเชื้อ

อาการของโรค

  • ปากแหว่ง เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้จากภายนอก คือ มีรอยแยกของริมฝีปากบนและอาจเป็นไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้าได้ด้วย อาจเป็นด้านเดียวหรือสองด้าน
  • เพดานโหว่ คือ รอยแยกที่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง อาจมีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อที่เปิดปิดทางระบายหูชั้นกลางผิดปกติ มีน้ำคั่งในหูชั้นกลางส่งผลให้การได้ยินลดลง มีโครงสร้างของกระดูกใบหน้าส่วนกลางผิดปกติ มีการสบกันของฟันผิดปกติ ทำให้มีปัญหาการพูด พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก

วิธีการรักษา

  1. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ควรได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยในแต่ละช่วงวัย จะมีการรักษาและแก้ไขอาการต่างๆ ที่แตกต่างกันไป
  2. ผู้ป่วยต้องได้รับผ่าตัดตามวัย ซึ่งอาจมากกว่า 1 ครั้ง
  3. ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล และผ่าตัดอย่างถูกวิธีจะลดความพิการกลับมาอยู่ในภาวะปกติได้
  4. ในช่วงทารก จะเริ่มจากการใช้อุปกรณ์ปรับตำแหน่งปากบน จมูก และเพดานปาก และรับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปากแหว่งในระยะต่อมา
  5. ในเด็กโตขึ้น จะเริ่มรักษาเพดานโหว่ เพื่อช่วยให้เด็กพูดได้ชัด รวมถึงมีการจัดฟันและผ่าตัดกระดูกขากรรไกรบนร่วมด้วยเพื่อให้การสบฟันเป็นปกติตลอดวัยเด็ก
  6. ผู้ปกครองต้องช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของผู้ป่วยให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงสอนให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับตัวเอง นับถือตัวเอง เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ

ที่มา :โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3vs7jVN


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท