Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ความเครียดของเยาวชน ต่อความรุนแรงในครอบครัว


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ

14-05-2022 14:57

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มักจะเป็นปัญหาที่ถูกเพิกเฉยเพราะมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีลูกวัยรุ่น ซึ่งปัญหามาจากความสัมพันธ์ในครอบครัว เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ชอบคิดเอง ทำเอง พึ่งตนเอง ไม่ชอบถูกบังคับ รวมทั้งเป็นช่วงที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

ภาพประกอบเคส

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มักจะเป็นปัญหาที่ถูกเพิกเฉยเพราะมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีลูกวัยรุ่น ซึ่งปัญหามาจากความสัมพันธ์ในครอบครัว เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ชอบคิดเอง ทำเอง พึ่งตนเอง ไม่ชอบถูกบังคับ รวมทั้งเป็นช่วงที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

ผลสำรวจของ Mental Health Check In พบว่า วัยรุ่นมีแนวโน้มความเครียดสูงขึ้นมาก สาเหตุเช่น เรื่องความรัก การเรียน การใช้จ่าย รวมไปถึงการใช้เวลากับสิ่งที่เด็กสนใจแต่ถูกตำหนิ เพราะเหมือนเป็นการหมกมุ่น จนนำมาสู่การทะเลาะขัดแย้งกัน และนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด

การสร้างความเข้าใจกันในครอบครัว

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เริ่มต้นได้ด้วยวิธีง่ายๆ ได้แก่

  • รับฟังกันอย่างตั้งใจ เพื่อให้เข้าใจความคิด ความต้องการของกันและกัน
  • ให้ความเข้าใจ ให้เกียรติ ยอมรับซึ่งกันและกัน
  • เพิ่มการสื่อสารเชิงบวก เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยกัน ไม่ใช่เพียงตำหนิต่อว่ากันแล้วจบไป
  • การบอกความรู้สึก ความต้องการ ความเป็นห่วงของตนเองอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ผู้รับฟังเข้าใจความรู้สึกที่หวังดี
  • สังเกตความขัดแย้งที่เด็กจัดการด้วยความสร้างสรรค์ไม่ได้ เพื่อหาทางออกในการช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง
  • ขอความร่วมมือให้สื่อหรือประชาชนไม่นำเสนอการสัมภาษณ์เด็กที่เป็นจำเลยของคดีหรือสังคมผ่านช่องทางต่างๆ เนื่องจากเป็นคดีที่สร้างความอ่อนไหว อีกทั้งการเปิดเผยข้อมูลย่อมส่งผลกระทบในเชิงลบ ทั้งต่อจิตใจของเยาวชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ถูกตีตราและกีดกันต่อสังคมอีกด้วย

ปัญหาทางอารมณ์ของเด็กเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องร่วมมือกันแก้ไข โดยสามารถเริ่มจากครอบครัวของตนเอง ไม่ควรมองว่าเรื่องของเด็กหรือความเครียดของเด็กเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ควรปรับวิธีการแก้ไขปัญหา โดยการรับฟังกัน เพิ่มการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี และครอบครัวต้องเป็นตัวอย่างในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม โดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อไป

ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3xjUQ9o


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท