Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 14:30

ทุก ๆ ปี ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 1 ใน 3 หรือมากกว่า 3 ล้านคนพลัดตกหกล้ม และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สูงอายุเพศหญิงมีการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มสูงกว่าเพศชายกว่า 1.6 เท่า ส่วนใหญ่พลัดตกหกล้ม ลื่น สะดุด หรือก้าวพลาดบนพื้นระดับเดียวกัน

ภาพประกอบเคส

ทุก ๆ ปี ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 1 ใน 3 หรือมากกว่า 3 ล้านคนพลัดตกหกล้ม และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สูงอายุเพศหญิงมีการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มสูงกว่าเพศชายกว่า 1.6 เท่า ส่วนใหญ่พลัดตกหกล้ม ลื่น สะดุด หรือก้าวพลาดบนพื้นระดับเดียวกัน

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุพลัดตกหกล้มเกิดจากปัจจัย ได้แก่

1) ด้านร่างกาย ทั้งการมองเห็น การเดิน การทรงตัว โรคประจำตัว

2) ด้านพฤติกรรม คือ ขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์

3) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นลื่นต่างระดับ บันไดไม่มีราวจับ

4) ด้านจิตใจ ขาดความมั่นใจในการเดิน

การบาดเจ็บภายหลังจากพลัดตกหกล้ม มีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น อาการฟกช้ำ แผลถลอก กระดูกหัก จนถึงขั้นรุนแรง และเสียชีวิตได้

การป้องกันที่สำคัญ คือ

1) ควรมีการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง เพื่อช่วยการทรงตัว รวมทั้งควรมีการประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ ปัจจัย โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติหกล้ม

2) ให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือวันละ 30 นาที

3) ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่งด้วยการเดินให้ได้อย่างน้อยวันละ 5,000 ก้าว เพื่อป้องกันการหกล้ม เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ทรงตัวดีขึ้น

4) หากมีการเดินเพิ่มมากขึ้น วันละ 7,000 – 10,000 ก้าว จะช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อ และเพิ่มสมรรถภาพทางกายให้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยให้ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวที่ดี ป้องกันการหกล้ม สามารถใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง ช่วยเหลือตนเองได้ และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

5) สร้างความตระหนักและความรอบรู้ต่อการป้องกันพลัดตกหกล้มแก่ผู้ให้บริการ ผู้สูงอายุ ญาติและผู้ดูแล เรื่องการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็นหรือควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง การประเมินและปรับปรุงบ้านให้ปลอดภัย

6) การประเมินความเสี่ยงและจัดการปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข https://bit.ly/3vw3K2n
: https://bit.ly/3Kw20KG


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท