Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไรเมื่อไขมันในเลือดสูง


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 14:17

ไขมันในเลือดสูง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่อาจมีปัญหาระยะยาวจากการที่ไขมันในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ (โรคอัมพฤกษ์)

ภาพประกอบเคส

ไขมันในเลือดสูง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่อาจมีปัญหาระยะยาวจากการที่ไขมันในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ (โรคอัมพฤกษ์)

ไขมันในเลือดประกอบไปด้วยโคเลสเตอรอล , ไตรกลีเซอร์ไรด์ , แอลดีแอล (LDL) และ เอชดีแอล (HDL) มีไขมันเอชดีแอล (HDL) เท่านั้นที่เป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย คือถ้าสูงจะดี (เกิน 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ถ้าต่ำจะไม่ดี (ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ส่วนไขมันชนิดอื่นถ้าสูงเกินเกณฑ์ถือว่าไม่ดีต่อร่างกาย

เมื่อทราบว่าไขมันในเลือดสูง ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • ควบคุมอาหาร ถ้าน้ำหนักเกินพิกัดควรลดน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • งดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งทำให้หลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น
  • พยายามไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่นั่ง ยืน นอน ตลอด ควรทำกิจกรรมต่างๆสม่ำเสมอ
  • ลดความเครียด
  • ถ้าคุมอาหาร ออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ แล้ว ยังไม่ได้ผล แพทย์อาจให้รับประทานยาลดไขมัน โดยพิจารณาจากลักษณะของไขมันที่สูง
  • ตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดสูงเป็นระยะตามนัด

การควบคุมอาหารในผู้ที่ไขมันในเลือดสูง ควรปฏิบัติอย่างไร

  • รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงของทอด ผัดที่ใช้น้ำมัน
  • ถ้าใช้น้ำมันควรใช้น้ำมันพืช ที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว เมล็ดดอกคำฝอย ส่วนน้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว
  • งดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมันและหนัง ถ้าจะรับประทานให้เอามันและหนังออกก่อน เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ส่วนอาหารที่ควรหลีกลี่ยงหรือรับประทานนานๆ ครั้ง ได้แก่ อาหารทะเลพวกกุ้ง ปู ปลาหมึก ไข่แดง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
  • อาหารที่สามารถรับประทานได้เป็นประจำคือ เนื้อไม่ติดมันไม่ติดหนัง ไข่ขาว ปลา ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ
  • ควรรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกมื้ออาหาร เพื่อเพิ่มกากใยในอุจจาระทำให้ท้องไม่ผูก

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3y5nHyO


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท