Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เทคนิคป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อม


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 14:06

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นความเสื่อมของโครงสร้างร่างกายที่ช่วยให้มนุษย์สามารถยืนหรือนั่งตัวตรงได้ มักมีอาการในตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอ และกระดูกส่วนเอว โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากลักษณะการทำงานที่นั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานๆ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงไม่มีเวลาออกกำลังกายเท่าที่ควร

ภาพประกอบเคส

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นความเสื่อมของโครงสร้างร่างกายที่ช่วยให้มนุษย์สามารถยืนหรือนั่งตัวตรงได้ มักมีอาการในตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอ และกระดูกส่วนเอว โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากลักษณะการทำงานที่นั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานๆ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงไม่มีเวลาออกกำลังกายเท่าที่ควร

สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

  1. อายุที่มากขึ้น
  2. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
  3. การอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งทำงาน หรือยืน
  4. การทำงานใช้งานหลังที่ไม่ เหมาะสม เช่น ทำงานในท่าก้มเป็นประจำ เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ หรือการแบกของหนักๆ เกินเกณฑ์เป็นเวลานานๆ
  5. วิถีชีวิตที่ใช้งานกระดูกคอมากขึ้น เช่น การก้มดูโทรศัพท์มือถือ การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

การป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

  1. การใช้งานหลังให้ถูกวิธี เช่น เวลาเรานั่ง เราควรจะต้องตัวตรง หลังชิดกับพนักพิง อาจจะมีหมอนเล็กๆ รองที่บริเวณหลังกับพนักพิง สำหรับเก้าอี้ที่ดี พนักพิงควรจะสูงถึงบริเวณไหล่ ส่วนเรื่องคอ บางครั้งเราก็จะเผลอในการที่จะก้มคอดูโทรศัพท์ หรืออ่านหนังสือ หรือดูจอโน้ตบุ๊ก เราจะต้องคอยรู้ตัวตลอดเวลา ว่าคอเราควรจะตั้งตรง ตามองตรง และมองสิ่งที่เราจะมองลงไปประมาณ 15-20 องศา ก็จะช่วยทำให้อาการปวดคอลดลงได้
  2. ไม่ควรใช้หลังในท่าเดิมๆ นานเกินไป ควรหยุดพักยืดเส้นยืดสาย เช่น การนั่งเกิน 45 นาที ควรมีเวลาพักเปลี่ยนอิริยาบถประมาณ 10-15 นาที
  3. ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรง และเสริมความยืดหยุ่น เช่น การฝึกเกร็งหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ทั้งในเวลาที่มีการใช้งาน หรือจัดเวลาการออกกำลังกาย เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลางลำตัว เช่น Planking นอกจากนี้ก็ยังต้องมีการออกกำลังเพื่อเสริมความยืดหยุ่นให้กับร่างกายด้วย
  4. ลดการใช้งานหลังที่ไม่เหมาะสม งดการยกของหนัก หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงบาดเจ็บที่บริเวณหลัง
  5. การควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกิน เกณฑ์
  6. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

เมื่อเกิดการใช้งานซ้ำๆ เหล่านี้ หมอนรองกระดูกจะเริ่มมีร่องรอยความเสียหาย จากนั้นก็จะเริ่มมีการสูญเสียน้ำ และมีการยุบตัวลง เกิดการไม่มั่นคงของโครงสร้างเกิดขึ้น กล้ามเนื้อข้างเคียงพยายามพยุงโครงสร้างเหล่านี้ และร่างกายตอบสนองด้วยการสร้างกลุ่มกระดูกงอก เพื่อรองรับโครงสร้างที่ไม่มั่นคงดังกล่าว ผู้ป่วยจะเริ่มปวดเมื่อมีการคลอนของโครงสร้างเกิดขึ้น ถ้าหมอนรองกระดูกที่ยุบและกลุ่มกระดูกที่งอกนี้ไปกดเส้นประสาทข้างเคียงก็จะทำ ให้เกิดอาการทางระบบประสาท

การรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

โรคนี้สามารถหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ทานยาและทำกายภาพบำบัด ในคนที่มีการปวดร้าวลงขาอาจใช้การฉีดยาลดการปวดตามเส้นประสาททำให้อาการดีขึ้นและใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ในบางกรณีที่มีอาการรุนแรงมีข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด อาจใช้เทคนิคในการผ่าตัดต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีมากมาย ที่จะมาช่วยในการผ่าตัดเพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

ที่มา : (1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) https://bit.ly/3Lg8oqK
: (2) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล https://bit.ly/3v9rSra


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท