Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 12:58

หลังจากผ่านช่วงวันหยุดยาว หลาย ๆ คน เริ่มกลับเข้าสู่ระบบการเรียน การทำงาน แต่บางคนอาจเจอกับความรู้สึกเหนื่อยล้า ห่อเหี่ยวจิตใจ ไม่อยากทำงาน ซึ่งเป็นอาการ Post-Vacation Blues หรือ อารมณ์เศร้าหลังวันหยุดพักผ่อน หลายคนอาจไม่เคยได้ยินกับคำนี้มาก่อน รวมทั้งบางคนที่ตกอยู่ในสภาวะดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว

ภาพประกอบเคส

หลังจากผ่านช่วงวันหยุดยาว หลาย ๆ คน เริ่มกลับเข้าสู่ระบบการเรียน การทำงาน แต่บางคนอาจเจอกับความรู้สึกเหนื่อยล้า ห่อเหี่ยวจิตใจ ไม่อยากทำงาน ซึ่งเป็นอาการ Post-Vacation Blues หรือ อารมณ์เศร้าหลังวันหยุดพักผ่อน หลายคนอาจไม่เคยได้ยินกับคำนี้มาก่อน รวมทั้งบางคนที่ตกอยู่ในสภาวะดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว

สาเหตุ
อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว เกิดจากร่างกายมีกลไกการปรับตัวที่จะเพิ่มพลังงานและอัตราการเผาผลาญของร่างกายให้สูงขึ้นเพื่อรับมือกับความเครียด เมื่อวันหยุดพักผ่อนสิ้นสุดลงพลังงานในร่างกายที่ถูกใช้ไปกับการรับมือกับชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป ก็จะเกิดความอ่อนล้า จิตใจไม่สดชื่นได้ เป็นภาวะที่ร่างกายเคยชินกับการพักผ่อนและไม่พร้อมที่จะกลับมาเริ่มต้น

อาการของโรค
หลังวันหยุดยาว จะรู้สึกไม่อยากทำงาน เบื่อหน่าย เศร้า เหนื่อย อยากอยู่คนเดียว หมดแรง ไม่มีใจอยากทำงาน และมีอาการซึมเศร้า มีลักษณะเฉพาะเหมือนกับอารมณ์เศร้าเสียใจที่เกิดจากการที่คนเราเจอเหตุการณ์เครียดในชีวิต อารมณ์เศร้าเหล่านี้มักมีความเศร้าปนตึงเครียดสับสน

อาการสามารถพบได้ในทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีความเบื่อหน่ายงานของตัวเองอยู่แล้ว โดยระดับความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับความเบื่อหน่ายที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง สมาธิลดลง หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสีย ใจลอย ระยะของอาการจะเป็นอยู่ 2-3 วันจากนั้นก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ

การดูแลจิตใจเมื่อเกิดอาการ
- การทำกิจวัตรประจำวันให้เหมือนเดิม จะช่วยให้เราปรับการใช้ชีวิตให้เข้าสู่สภาวะปกติได้มากที่สุด
- ออกกำลังกาย หรืออยู่กับพื้นที่สีเขียว เพื่อปรับระดับอารมณ์ กระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) สร้างความสดชื่น ลดความอ่อนล้าของร่างกาย
- ไม่ปล่อยให้ตนเองจมดิ่งไปกับอารมณ์เศร้าหมอง ใช้ช่วงเวลาประทับใจตอนไปเที่ยวเป็นเครื่องมือเยียวยา หรือการวางแผนเที่ยวครั้งต่อไป เพื่อให้เกิดการคาดหวังเมื่อรู้ว่ามีความสนุกรออยู่
- หากมีอาการ Post-Vacation Blues ติดต่อกันมากกว่า 3 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยา

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/37O6qPX
: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข https://bit.ly/377WEaY


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท