Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ปวดคอเรื้อรัง ปัญหาใหญ่ทำชีวิตพัง


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 12:30

ปวดคอ อาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย จนรบกวนชีวิตประจำวัน แต่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ยิ่งต้องทำงาน Work From Home นั่งหน้าจอคอมยาวๆ การประชุมที่ต่อเนื่องทั้งวัน ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการนั่งไม่ถูกท่า นั่งท่าเดิมนานๆ จนทำให้เกิดกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม กลายเป็นโรคเรื้อรัง หากปล่อยไว้อาจทำให้กระดูกคอมีโอกาสไปกดทับเส้นประสาท จนอาจไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติอีกเลยก็ได้

ภาพประกอบเคส

ปวดคอ อาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย จนรบกวนชีวิตประจำวัน แต่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ยิ่งต้องทำงาน Work From Home นั่งหน้าจอคอมยาวๆ การประชุมที่ต่อเนื่องทั้งวัน ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการนั่งไม่ถูกท่า นั่งท่าเดิมนานๆ จนทำให้เกิดกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม กลายเป็นโรคเรื้อรัง หากปล่อยไว้อาจทำให้กระดูกคอมีโอกาสไปกดทับเส้นประสาท จนอาจไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติอีกเลยก็ได้

สาเหตุของอาการปวดคอเรื้อรัง

  • ใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้หยุดพัก
  • อุบัติเหตุ อาจส่งผลกระทบต่อหลายๆ จุดของร่างกาย โดยอาจทำให้เอ็น กล้ามเนื้อ หรือข้อต่อกระดูกคอเสียหาย
  • ความเสื่อมตามการใช้งาน ยิ่งใช้งานมากเท่าไร กระดูกอ่อนก็จะค่อยๆ เสื่อมไปตามกาลเวลา ยิ่งเสื่อมมากก็จะปวดมาก
  • หมอนรองกระดูกคอเสื่อม แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เกิดความเสื่อมที่ทำให้กระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาทจนทำให้เกิดอาการปวด กับการอักเสบบริเวณรอบๆ ทำให้เส้นประสาทอักเสบด้วย
  • กล้ามเนื้ออักเสบ อาจเป็นได้ทั้งการอักเสบที่กล้ามเนื้อเดียว หรือหลายกล้ามเนื้อรวมกันก็ได้ ซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบแล้ว อาการปวดจะไม่ได้อยู่แค่ที่บริเวณคอ แต่จะร้าวลามไปบริเวณรอบๆ ได้ด้วย คือ อาจปวดได้ทั้งขมับ คอ สะโพก ตลอดจนไปถึงขาเลยก็ได้

สัญญาณที่บอกว่าอาการปวดคอของเรานั้น เข้าขั้นอันตรายแล้ว ได้แก่

  • ปวดตอนกลางคืนร่วมด้วย หรือปวดจนตื่น ปวดจนนอนไม่หลับ
  • น้ำหนักลดลง เพราะปวดมากจนเครียด ซึมเศร้า
  • มีอาการอ่อนแรงที่แขนขา ขยับมือได้ช้าลง มีอาการชา
  • ท่าทางการเดินผิดปกติ เดินได้ไม่มั่นคง เพราะกระดูกคอไปทับเส้นประสาท

การรักษาอาการปวดคอเรื้อรัง

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการรักษาอาการปวดคอเรื้อรัง คือจะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงให้เจอ จึงเข้าสู่กระบวนการในการรักษา โดยเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับการวินิจฉัย และระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งการรักษาก็สามารถทำได้ตั้งแต่ การให้รับประทานยา การทำกายภาพบำบัด ปรับพฤติกรรม ฉีดยา รวมไปถึงการผ่าตัด ซึ่งก็สามารถใช้หลายๆ วิธีร่วมกันได้

ที่มา : ไทยรัฐ
https://bit.ly/36NgGY8


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท