Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

4 ระยะความรุนแรงของนิ้วล็อก


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 12:12

นิ้วล็อก คือ อาการปวดบริเวณผ่ามือใกล้ ๆ โคนนิ้ว ลักษณะอาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก นิ้วเคลื่อนที่ไม่สะดวก มีอาการติด หรือสะดุดเวลาขยับนิ้ว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

ภาพประกอบเคส

นิ้วล็อก คือ อาการปวดบริเวณผ่ามือใกล้ ๆ โคนนิ้ว ลักษณะอาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก นิ้วเคลื่อนที่ไม่สะดวก มีอาการติด หรือสะดุดเวลาขยับนิ้ว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

สาเหตุของการเกิดนิ้วล็อก คือ การใช้งานของมือและนิ้วมือมากและระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่น ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว เช่น พนักงานออฟฟิศที่พิมพ์งานติดต่อกันเป็นระยะนานติดต่อกันหลายชั่วโมง แม่บ้านที่ต้องซักผ้าและบิดผ้าบ่อย ๆ การถือถุงที่ต้องมีการกำมือแน่นระหว่างการหิ้วของหนัก นักกีฬาที่ต้องใช้การจับอุปกรณ์ที่แน่น ๆ เช่น เทนนิส แบดมินตัน และปั่นจักรยานภูเขา เป็นต้น หรือแม้กระทั้งในคนที่ชอบเล่นมือถือ แท็บเล็ต ที่ต้องใช้การจับมือถือให้มั่นคงอยู่ในมือ เพื่อไม่ให้มือถือหลุดจากมือ

ความรุนแรงของนิ้วล็อก แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือเวลาขยับ แต่ยังไม่มีการสะดุดระหว่างการเคลื่อนไหวนิ้ว
  • ระยะที่ 2 เริ่มมีการสะดุดเวลาขยับนิ้ว แต่ยังขยับได้อยู่
  • ระยะที่ 3 นิ้วติดล็อก แต่ยังสามารถเหยียดออกได้โดยการใช้มืออีกข้างช่วยแกะ
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดจนไม่สามารถขยับออกได้

การรักษา แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค

  • ระยะที่ 1-2 กินยาแก้ปวด ลดการใช้นิ้ว แช่น้ำอุ่นวันละ 10-20 นาที พร้อมบำบัดด้วยคลื่นกระแทก (untrasound+shock wave)
  • ระยะที่ 3-4 ฉีดยาสเตียรอยด์ ผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็น

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3Me1QZt


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท