Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เช็คสุขภาพของคนวัยทำงาน


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

14-05-2022 11:40

“สุขภาพดี” คือ ความต้องการและความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัว นอกเหนือจากการออกกำลังกาย การนอนหลับให้เพียงพอ และการรับประทานอาหารที่ดีนั้นยังคงไม่เพียงพอ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจคัดกรองสุขภาพของตนเอง

ภาพประกอบเคส

เช็คสุขภาพของคนวัยทำงาน “สุขภาพดี” คือ ความต้องการและความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัว นอกเหนือจากการออกกำลังกาย การนอนหลับให้เพียงพอ และการรับประทานอาหารที่ดีนั้นยังคงไม่เพียงพอ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจคัดกรองสุขภาพของตนเอง วันนี้เราจะมาเช็คสุขภาพของคนวัยทำงานกัน

อายุ 20-60 ปี ควรตรวจอะไรบ้าง ?
– ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่ มีภาวะโลหิตจางหรือไม่ และมีภาวะการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกายหรือไม่ เป็นต้น – ตรวจระดับไขมันในเลือด เป็นการตรวจเพื่อดูความเสี่ยงของหลอดเลือดและหัวใจ ถ้ามีปริมาณมาก ก็จะมีความเสี่ยงของหลอดเลือดและหัวใจมากขึ้น – ตรวจการทำงานของตับและไต เนื่องจากอวัยวะทั้งสองมีหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย สร้างสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ถ้าค่าการทำงานของตับและไตปกติ ก็จะสามารถบอกถึงความสามารถในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายที่ปกติ แต่ถ้าค่าผิดปกติ ก็จำเป็นจะต้องดูสาเหตุของการทำงานที่ผิดปกติโดยแพทย์อีกครั้ง

การตรวจสุขภาพเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง ?
เพศชาย ที่มีอายุตั้งแต่ 55 – 69 ปี แนะนำให้เพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก เพศหญิง อายุระหว่าง 50 – 74 ปี หรือผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว อันเนื่องมาจากความเสี่ยงของการรับเชื้อไวรัส HPV รวมถึงการคัดกรองมะเร็งเต้านม แนะนำให้เข้ารับการตรวจแมมโมแกรม และในอายุมากกว่า 35 ปี แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตรวจตามความเสี่ยงจากการทำงาน
คนวัยทำงานที่ทำงานในสถานประกอบการยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น การสัมผัสฝุ่น สารเคมี โลหะหนักบางชนิด หรือการสัมผัสเสียงดัง โดยแนะนำให้ตรวจตามความเสี่ยงรายแผนก หรือเฉพาะบุคคล นอกจากจะเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองและป้องกันความเสี่ยงแล้ว ยังเป็นการตรวจเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายกำหนดไว้อีกด้วย

ที่มา : ผศ. นพ.จาตุรนต์ ตั้งสังวรธรรมะ โรงเรียนแพทย์รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://bit.ly/3K8ivgx


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท