Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เทคนิคการดูแลสุขภาพ เมื่อพบอาการ Long Covid


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: โควิด

13-05-2022 19:29

Long Covid หรือ อาการที่พบในผู้ป่วยหลังหายจากโควิด คือ อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะถือว่าผู้ป่วยมีอาการลองโควิด ก็ต่อเมื่อมีอาการนั้นๆกินระยะเวลาเกินกว่า 1 เดือน จึงจะถือว่าผู้ป่วยเป็นลองโควิด

ภาพประกอบเคส

Long Covid หรือ อาการที่พบในผู้ป่วยหลังหายจากโควิด คือ อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะถือว่าผู้ป่วยมีอาการลองโควิด ก็ต่อเมื่อมีอาการนั้นๆกินระยะเวลาเกินกว่า 1 เดือน จึงจะถือว่าผู้ป่วยเป็นลองโควิด

สำหรับอาการลองโควิด จะเป็นกลุ่มอาการที่มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าในช่วงที่ติดเชื้อนั้น มีอาการหนักมากแค่ไหน เพราะอาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั้น ส่งผลรบกวนทุกอวัยวะทำให้เกิดอาการเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่น อาการไอ ซึ่งเกิดจากเชื้อที่เข้าไปในร่างกาย ทำลายเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ เส้นประสาท ทำให้ทางเดินหายใจมีความไวสูงขึ้นต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ กรณีนี้ต้องรอร่างกายสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนส่วนที่เสียหาย อาการนี้ในผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อน ต้องระมัดระวังมากๆ เพราะถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาโดนลำคอบ่อยๆ โอกาสหายจะยากขึ้น เพราะการฟื้นฟูทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

สำหรับอาการอื่นๆ และวิธีการเบื้องต้นในการดูแลตัวเอง แบ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้

1.อาการไอแห้ง ให้สังเกตว่ามีเสมหะหรือไม่ ถ้ามีเสมหะที่มีเลือดปนออกมาเล็กน้อยถือว่าปกติ แต่ถ้าไอมากขึ้นมีเสมหะ กลายเป็นสีเขียวทั้งวัน หรือไอปนเลือดออกมาเยอะผิดปกติ ไม่เคยเจ็บหน้าอก ก็เกิดเจ็บหน้าอกขึ้นมา กลุ่มนี้ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะร่างกายกำลังแสดงว่ามีภาวะแทรกซ้อนอยู่ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอไม่มาก สามารถทานยาแก้ไอทั่วไป หรือจิบน้ำอุ่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าไอมาก แนะนำให้ใช้ยาพ่น
2.อาการเหนื่อย หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งเกิดจากการนอนระหว่างรักษาตัว ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ควรเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย สำหรับบางคนที่ยังใช้ออกชิเจน ขึ้นอยู่กับว่าปอดมีความเสียหายแค่ไหน ต้องรักษาด้วยกายภาพปอด ถ้าปอดไม่มีพังพืด โอกาสกลับมาปกติ เพียงแต่ต้องออกกำลังกาย
3.ปัญหาการนอนหลับ อาจเกิดจากความเครียด หรือผลข้างเคียงจากยาที่ได้รับในช่วงที่ติดเชื้อ และรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล หรือภายใต้การดูแลของแพทย์ ที่จะมีการเข้ามาตรวจเช็คร่างกายเป็นระยะๆ ส่งผลให้วงจรการนอนหลับผิดปกติ วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น ให้ปรับสภาพแวดล้อมการนอนในห้องให้เหมาะสม กับการนอน เช่น แสงไฟ ทิศทางของแอร์ ไม่ทานอาหาร หรือ ออกกำลังกาย ในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน และไม่ใช้โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ เพราะแสงไฟจากหน้าจอจะกระตุ้นให้ร่างกายตื่น รบกวนวงจรการนอนหลับ
4.การได้กลิ่น การรับรสผิดปกติ โดยทั่วไปอาการนี้จะหายได้เอง โดยใช้เวลาประมาณ 2 – 6 สัปดาห์ ถึงจะกลับมาเป็นปกติ ระหว่างที่รอร่างกายฟื้นฟู แนะนำให้หัดดมกลิ่นอ่อนๆ เพื่อจำแนกกลิ่นชนิดต่างๆ อย่าพยายามดมกลิ่นฉุนๆ เช่น แอมโมเนีย หรือกลิ่นแรงๆ เพราะอาจเกิดอันตราย อย่าทานเผ็ดมากเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ประสาทการรับรสจะด้านชากว่าเดิม
5.สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ เครียด วิตกกังวล ควรหากิจกรรมทำเพื่อลดภาวะความเครียด เช่น เดินออกกำลังกายนอกบ้าน ออกไปสัมผัสธรรมชาติ แต่ถ้าอาการยังมีอยู่นานกว่า 2 อาทิตย์ควรไปปรึกษาจิตแพทย์
6.ถ้าที่มีอาการเหมือนเป็นไข้ ให้วัดปรอท เพื่อดูว่ามีไข้ หรือเกิดจากภาวะร่างกายอ่อนล้า ถ้าวัดปรอทแล้วพบว่ามีไข้ แนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
7.สำหรับผู้ที่มีภาวะแขนบวม ขาบวม เพราะเกิดจากการให้ยาหรือสารน้ำระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยทั่วไปสามารถหายเองได้ โดยใช้เวลาเป็นสัปดาห์ อย่าทานยาขับปัสสาวะ กรณีที่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือไต ต้องปรึกษาแพทย์
8.ผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แนะนำให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย เคี้ยวอาหารช้าๆให้ละเอียด เพื่อปรับสภาพร่างกาย

ข้อมูลอ้างอิงจาก - นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เรื่อง Long COVID คืออะไร แก้ไขอย่างไร Link : https://youtu.be/Ipy_O694Xa0 - รศ.นพ.จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง 5 ปัญหายอดฮิต คนนอนไม่หลับ โดย มูลนิธิหมอชาวบ้าน


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท