Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การยอมรับ LGBTQ ในสังคมไทย


หมวดหมู่หลัก: LGBTQ

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

08-03-2022 11:11

ในยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนและความคิดผันแปรไป ทำให้กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQ) ได้มีบทบาทมากขึ้น และสามารถเปิดเผยตัวตนได้อย่างเสรีในสังคมไทย

ภาพประกอบเคส

ในยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนและความคิดผันแปรไป ทำให้กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQ) ได้มีบทบาทมากขึ้น และสามารถเปิดเผยตัวตนได้อย่างเสรีในสังคมไทย

แต่ชีวิตของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในประเทศไทยนั้นยังคงถูกจำกัดสิทธิในการแสดงออกทางเพศด้วยการเลือกปฏิบัติ โดยมีการควบคุมการแสดงออกทางเพศอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่

  • การควบคุมอย่างเป็นทางการ คือการควบคุมที่มีกฎหมายเข้ามารองรับ ซึ่งจะเห็นได้จากที่กลุ่ม LGBTQ ได้ออกมาเรียกร้องสิทธิสมรสอย่างเท่าเทียม โดยเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายสมรส เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งแยกความไม่เสมอภาคของคนรักต่างเพศกับกลุ่ม LGBTQ ออกจากกัน รวมถึงสิทธิที่คู่สมรสควรจะได้รับอย่างคู่สมรสตามเพศสถานะที่สังคมยอมรับ

  • การควบคุมอย่างไม่เป็นทางการ คือการที่คนในสังคมเป็นผู้ควบคุม โดยวิธีการควบคุมอย่างไม่เป็นทางการนั้นมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การนินทาว่าร้าย การถูกระรานและการกลั่นแกล้ง ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมนั้นๆ

จากการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าในสังคมไทยยังมีความเชื่อและทัศนคติในด้านลบต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้เกิดเป็นอุปสรรคอันสำคัญที่ทำให้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศไม่สามารถแสดงและพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจัยของความเชื่อและทัศนคติด้านลบที่กล่าวมานั้นก็มาจากทั้งสถาบันครอบครัว เพื่อน สถาบันการศึกษา และสถานที่ทำงาน ด้วยเหตุดังนี้

  • ครอบครัวและเพื่อน การถูกเลือกปฏิบัติจากคนในครอบครัวและเพื่อนทั้งทางวาจาคำพูด การถูกครอบครัวกำหนดกฎเกณฑ์ให้แต่งงานกับเพศตรงข้าม และการไม่กล้าเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงต่อครอบครัว
  • สถาบันการศึกษา การถูกเลือกปฏิบัติให้ระมัดระวังการแสดงออกทางเพศ การโจมตีด้วยคำพูด และการโดนคุกคามทางเพศ
  • สถานที่ทำงาน - การถูกเลือกปฏิบัติให้ถูกจำกัดโอกาสทางการจ้างงาน

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการถูกกำจัดสิทธิในทางเพศด้วยเหตุผลใดก็ตาม คนในสังคมไทยควรจะเคารพในเรื่องของสิทธิมนุษยชนของกันและกัน เนื่องจากว่าไม่ว่าจะเป็นเพศใด ทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
http://human.msu.ac.th/lmcnews/slide_m_details.php?slide=Mzk=


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท