Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วงจรชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยว


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

12-05-2022 19:37

วงจรชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวนั้น หมุนเวียนไปจนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการเกิดพ่อแม่วัยใส หรือพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวรอบแล้วรอบเล่า อาจด้วยความรู้ ความคิด ระหว่างวัยที่แตกต่างของเด็กและผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตในการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก

ภาพประกอบเคส

ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว คือ ครอบครัวที่พ่อหรือแม่ต้องเลี้ยงดูบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยลำพัง ผลการศึกษาครอบครัวไทยแบบบูรณาการตามวงจรชีวิต โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล (กันยายน 2562) พบว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก

  • มารดาวัยรุ่น หรือคุณแม่วัยใส ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
  • ความเปราะบางของครอบครัว ได้แก่ การหย่าร้าง ความรุนแรงในครอบครัว สารเสพติด การพนัน

ในปี พ.ศ.2556 พบว่ามีครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวทั้งหมด 1.37 ล้านครัวเรือน จาก 20.3 ล้านครัวเรือน ( คิดเป็น 7.1% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด) โดย 80% ของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวนั้น พบว่าเป็นครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งมีวงจรชีวิตหมุนเวียนไป ดังนี้

  • เริ่มเป็นแม่วัยใส หรือ มีลูกไม่พร้อม หรือเกิดปัญหาความเปราะบางของครอบครัว
  • ต้องการที่ปรึกษา เช่น เพื่อน ครูอาจารย์ พ่อแม่
  • การตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน ลาออกจากงาน หรือถูกขับไล่ออกจากบ้าน แฟนทิ้ง หรือหย่าร้าง
  • บางคนเกิดภาวะที่ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อน หาที่พักพิงใหม่
  • ฝากครรภ์และคลอดบุตรเมื่อครบกำหนด ตามสิทธิการรักษายาบาล
  • ฝากเลี้ยงบุตรกับสถานสงเคราะห์ หรือฝากให้ปูย่าหรือตายายเลี้ยงหลานตามลำพัง เพื่อแม่จะได้ออกไปทำงานหาเงิน
  • บางส่วนเกิดภาวะเครียด ไม่สามารถส่งเงินได้เพียงพอและสม่ำเสมอ เป็นภาระทำให้ผู้สูงวัยต้องทำงานหาเงิน เพื่อหารายได้เพิ่มให้เพียงพอแก่การดูแล
  • เกิดการศึกษาเพิ่มเติม ฝึกทักษะส่งเสริมอาชีพ และเริ่มทำงานด้วยค่าแรงขั้นต่ำ
  • เริ่มมองหาที่พักอาศัยราคาถูก เพื่อรับลูกกลับมาเลี้ยงด้วยตนเอง
  • เกิดการกู้ยืมเงินทั้งในและนอกระบบ
  • เกิดปัญหาในการเลี้ยงลูก ไม่มีคำแนะนำ ไม่มีเวลา มีปัญหาค่าใช้จ่าย
  • ส่งลูกกลับไปยังสถานสงเคราะห์ หรือปูย่าตายาย
  • แม่กลับไปทำงานและมีครอบครัวใหม่
  • สุดท้ายเด็กถูกทอดทิ้ง

วงจรชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวนั้น หมุนเวียนไปจนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการเกิดพ่อแม่วัยใส หรือพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวรอบแล้วรอบเล่า อาจด้วยความรู้ ความคิด ระหว่างวัยที่แตกต่างของเด็กและผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตในการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก

ดังนั้น การส่งเสริมมาตรการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ การปรับทัศนคติที่เหมาะสม ไม่ตีตราคนที่เป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว อาจเป็นส่วนที่ช่วยให้วงจรชีวิตไม่หมุนเวียนไปในทิศทางเดิม แต่จะแปรเปลี่ยนไปในทางที่ดี หากทุกส่วนมีบทบาทในการช่วยเหลือ ดูแล และเสริมพลังความเข้มแข็งให้ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว

ที่มา: คู่มือการจัดสวัสดิการ ศูนย์บริการแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ https://bit.ly/3Oz05Z2


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท