Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

"ฝังยาคุมกำเนิด" แล้วไม่มีประจำเดือนจริงหรือ


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

12-04-2022 15:01

การฝังยาคุม คือ การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยใช้ฮอร์โมนเดี่ยวบรรจุไว้ภายในแท่งพลาสติก แล้วนำไปฝังที่ใต้ท้องแขน เมื่อตัวฮอร์โมนทำปฏิกิริยากับร่างกาย ก็จะทำให้ไม่มีการตกไข่ ซึ่งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ภาพประกอบเคส

การฝังยาคุม คือ การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยใช้ฮอร์โมนเดี่ยวบรรจุไว้ภายในแท่งพลาสติก แล้วนำไปฝังที่ใต้ท้องแขน เมื่อตัวฮอร์โมนทำปฏิกิริยากับร่างกาย ก็จะทำให้ไม่มีการตกไข่ ซึ่งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด

  • ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก ประมาณ 1/200 คน ที่เกิดอัตราล้มเหลว
  • เป็นวิธีที่มีความสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี
  • มีอาการข้างเคียงน้อย
  • สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตรหรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น
  • หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด 90% ตกไข่ใน 1 เดือน
  • ยาฝังคุมกำเนิดยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ลดภาวะประจำเดือนมามาก

ข้อเสียของการฝังยาคุมกำเนิด

  • การฝัง หรือการถอดยาคุมจะต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถใส่หรือถอดเองได้
  • ประจำเดือนจะมาแบบกะปริดกะปรอย ซึ่งอาจทำให้เป็นปัญหาของหลาย ๆ คน แต่เมื่อผ่านระยะ 1 ปีไปแล้ว ปัญหาแบบนี้ก็จะลดลง
  • อาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการฝังยาคุมได้ เช่น มีก้อนเลือดคลั่งบริเวณที่กรีด
  • อาจพบตำแหน่งแท่งยาที่แตกต่างไปจากเดิม แต่พบได้น้อยมาก

ผลข้างเคียงของการฝั่งยาคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มาแบบกะปริดกะปรอย หรือมีตกขาวมาก บางรายอาจมีประจำเดือนติดต่อกันหลายวัน หรือในบางรายอาจจะไม่มีประจำเดือนเลย
  • ในบางรายมีอาการปวดท้องประจำเดือน ในช่วง 2 - 3 เดือนแรก
  • มีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังยาคุม
  • แผลที่ฝั่งยาคุมอาจเกิดรอยแผลเป็นหรือเกิดอาการอักเสบได้
  • มีอารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม
  • มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
  • เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดต่ำ

ผู้ที่เหมาะจะใช้ยาฝังคุมกำเนิด

  • ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุมกำเนิดได้ในระยะยาว
  • ผู้ที่ต้องการเว้นช่วงการมีบุตรอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือ สงสัยว่าตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด หรือ กำลังได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือตามอวัยวะเพศต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของตับ หรือ กำลังเป็นโรคตับอักเสบ

ที่มา : คมชัดลึก, โรงพยาบาลนครธน
https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/507033


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท