Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ภัยเงียบจากภาชนะอะลูมิเนียม


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

12-04-2022 14:57

แทบทุกบ้านต่างมีภาชนะอะลูมิเนียมไว้ใช้งาน เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม ช้อน ถาดใส่อาหาร เป็นต้น ข้อดีของภาชนะ อะลูมิเนียม คือ มีน้ำหนักเบา คงทน ความหนาแน่นน้อย นำความร้อนได้ดีและมีราคาถูก จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรเลือกใช้ภาชนะอะลูมิเนียมให้เหมาะสมกับการใช้งานและประเภทของอาหารเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

ภาพประกอบเคส

แทบทุกบ้านต่างมีภาชนะอะลูมิเนียมไว้ใช้งาน เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม ช้อน ถาดใส่อาหาร เป็นต้น ข้อดีของภาชนะ อะลูมิเนียม คือ มีน้ำหนักเบา คงทน ความหนาแน่นน้อย นำความร้อนได้ดีและมีราคาถูก จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรเลือกใช้ภาชนะอะลูมิเนียมให้เหมาะสมกับการใช้งานและประเภทของอาหารเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

อันตรายจากภาชนะอะลูมิเนียม

ภาชนะอะลูมิเนียมที่ไม่มีคุณภาพ หากนำมาหุงต้มอาหารอาจมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารตะกั่ว สังกะสี หรืออะลูมิเนียม ถ้าเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะส่งผลต่อระบบประสาท และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง อีกทั้งการปรุงอาหารที่มีรสเปรี้ยวและรสเค็มมาก ซึ่งมีความเป็นกรดและด่างสูง ด้วยการต้ม ตุ๋น หรือเคี่ยว จะทำให้ภาชนะประเภทสังกะสี อะลูมิเนียม หรือภาชนะที่ใช้ตะกั่วบัดกรี เกิดการกัดกร่อนปนเปื้อนในอาหารได้ จึงแนะนำให้ใช้วัสดุประเภทสแตนเลสแทน

การเลือกซื้อ และใช้ภาชนะอะลูมิเนียมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

  • ควรเลือกซื้อภาชนะอะลูมิเนียมที่มีคุณภาพอย่าเห็นแก่ ของราคาถูก
  • ไม่ควรนำภาชนะอลูมิเนียมมาใช้บรรจุอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้มสายชู แกงส้ม ต้มยำ เนื่องจากอาหารเหล่านี้ มีฤทธิ์ความเป็นกรด ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับภาชนะอะลูมิเนียมทำให้โลหะหนัก เช่น อะลูมิเนียม ตะกั่ว ทองแดง สังกะสี อาจหลุดออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่เรารับประทานได้

ทั้งนี้การปนเปื้อนของโลหะจากภาชนะจะก่ออันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วยไม่ว่าจะเป็นประเภทอาหารที่ ปรุง ระยะเวลา อุณหภูมิ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะอลูมิเนียมโดย ใช้ภาชนะอื่นแทน หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวังและเหมาะสมกับอาหารเพื่อความ ปลอดภัยของท่านเอง

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
https://www.ocpb.go.th/download/article/article_20171215140715.pdf


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท