มะเร็งเต้านม อันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
12-04-2022 14:17
มะเร็งเต้านม ภัยร้ายของผู้หญิงที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และพบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก รายงานว่าปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.3 ล้านคน เสียชีวิตราว 685,000 คนต่อปี สำหรับประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย
มะเร็งเต้านม ภัยร้ายของผู้หญิงที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และพบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก รายงานว่าปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.3 ล้านคน เสียชีวิตราว 685,000 คนต่อปี สำหรับประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย
สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม
สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย และดื่มสุรา รวมถึงบางปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม และอายุที่มากขึ้น เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
- อายุที่มากขึ้น
- ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- ใช้ฮอร์โมนเพศหรือยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนก่อนอายุ 55 ปี
- มีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี หรือไม่เคยมีบุตร
- ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ดื่มแอลกอฮอล์
- ขาดการออกกำลังกาย
สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม
- พบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- มีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมาจากหัวนม
- หัวนมบอดหรือมีแผลเรื้อรังที่หัวนม
- มีรอยบุ๋ม รอยย่น เป็นผื่นคันบริเวณลานหัวนม
- มีอาการเจ็บผิดปกติที่เต้านมหรือรักแร้
- ผิวหนังของเต้านมมีรอยบุ๋ม รอยย่น ผิวหนังบวมหนาคล้ายผิเปลือกส้ม
การรักษา
การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยเคมีบำบัด การรักษาด้วยยาแบบมุ่งเป้า และฮอร์โมน หรือแพทย์อาจใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษาซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมแพทย์และระยะของโรค สุขภาพและความต้องการของผู้ป่วย
แม้ว่ามะเร็งเต้านมจะเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ก็เป็นมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายขาดหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เราสามารถตรวจคัดกรองเต้านมได้โดย
- ตรวจเต้าด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน
- เข้ารับการตรวจจากแพทย์หรือพยาบาลเป็นครั้งคราว
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวน์ร่วมกับเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป และมีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
ที่มา : กรมการแพทย์
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/172408