Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

“น้ำแข็ง – น้ำดื่ม” สะอาด ปลอดภัย ลดเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรค


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

12-04-2022 13:50

อากาศร้อน ๆ ได้ดื่มน้ำเย็นสักแก้วคงสดชื่นไม่น้อย แต่ในช่วงหน้าร้อนทั้งน้ำแข็งและน้ำดื่มอาจเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากอุณหภูมิบ้านเราสูงพอเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

ภาพประกอบเคส

อากาศร้อน ๆ ได้ดื่มน้ำเย็นสักแก้วคงสดชื่นไม่น้อย แต่ในช่วงหน้าร้อนทั้งน้ำแข็งและน้ำดื่มอาจเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากอุณหภูมิบ้านเราสูงพอเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค กรมอนามัยจึงได้แนะนำให้ผู้บริโภคใส่ใจในเรื่องความสะอาดปลอดภัยเป็นหลัก โดยใส่ใจในความสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ดังนี้

ความสะอาดปลอดภัยของน้ำแข็ง

  • เลือกน้ำแข็ง น้ำดื่ม จากแหล่งผลิตที่ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐาน GMP
  • เมื่อน้ำแข็งละลายจะต้องใส ไม่มีตะกอนขาวขุ่น ๆ อยู่ก้นแก้ว
  • สถานที่เก็บรักษาเพื่อจำหน่ายต้องสะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกใกล้ ๆ วางสูงกว่าพื้นหรือทางเดินอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
  • ภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำแข็งต้องสะอาด ไม่ฉีกขาด แตกร้าว
  • สำหรับน้ำแข็งที่แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย หรือร้านอาหาร แผงลอย ที่ใช้น้ำแข็ง ต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ไม่มีสนิม มีฝาปิดสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ควรวางอยู่บนพื้น ทางเท้า หรือใกล้ถังขยะ ตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
  • ภาชนะที่ใช้ตักต้องมีด้ามจับ ไม่ใช้มือหยิบจับน้ำแข็งโดยตรง
  • ห้ามนำอาหาร หรือเครื่องดื่มมาแช่ในน้ำแข็งที่ใช้บริโภคโดยเด็ดขาด

ความสะอาดปลอดภัยของน้ำดื่ม

  • น้ำดื่มต้องบรรจุภาชนะปิดสนิท
  • ภาชนะต้องสะอาด ไม่มีคราบสกปรกทั้งภายในและภายนอก
  • พลาสติกปิดรอบ ฝาปิดต้องอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด
  • ชื่อผู้ผลิตบนถังต้องตรงกับผู้ผลิตรายนั้น
  • เมื่อนำมาถ่ายเทใส่ภาชนะสำหรับดื่ม เช่น ขวด ถัง ต้องล้างภาชนะให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
  • ต้องระวังเรื่องสุขลักษณะส่วนบุคคลในขณะถ่ายเทน้ำดื่ม เช่น ไม่ใช้มือสัมผัสน้ำ ให้ใช้กรวยที่สะอาดรองน้ำใส่ภาชนะ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยแบ่งน้ำ เช่น ที่สูบมือ หรือที่วางถัง 20 ลิตร แบบโยกรินได้
  • การเก็บต้องไม่ให้โดนแสงแดด วางสูงจากพื้น 15 เซนติเมตร
  • ไม่ควรวางปะปนกับภาชนะบรรจุสารเคมี ยาฆ่าแมลง อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนภาชนะ หรือในน้ำดื่มได้

ที่มา : กรมอนามัย
https://bit.ly/3qibcLi


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท