Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคไซโคพาธ อาการขาดความสำนึกผิด


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: สุขภาพใจ

12-04-2022 13:34

“โรคไซโคพาธ (Psychopaths)” อาการขาดความสำนึกผิด โกหกหน้าไม่อาย หลอกตัวเอง ไร้ความเห็นใจผู้อื่น เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) และได้กลายเป็นคำที่วินิจฉัยถึงอาการทางจิตของผู้ที่เป็นโรคนี้ โดยมีลักษณะขาดความเห็นใจผู้อื่น, ขาดความสำนึกผิด, ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว, ขาดความยับยั้งชั่งใจ และเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง

ภาพประกอบเคส

“โรคไซโคพาธ (Psychopaths)” อาการขาดความสำนึกผิด โกหกหน้าไม่อาย หลอกตัวเอง ไร้ความเห็นใจผู้อื่น เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) และได้กลายเป็นคำที่วินิจฉัยถึงอาการทางจิตของผู้ที่เป็นโรคนี้ โดยมีลักษณะขาดความเห็นใจผู้อื่น, ขาดความสำนึกผิด, ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว, ขาดความยับยั้งชั่งใจ และเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง

สาเหตุเกิดภาวะไซโคพาธทางด้านจิตใจและสังคม
อาจเกิดขึ้นในวัยเด็กและแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น ขาดความรัก ขาดความสนใจ ไร้คำแนะนำจากผู้ปกครอง ถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก ถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย การเลี้ยงดูที่ไม่พึงประสงค์ อาชญากรรมในครอบครัว ความแตกแยกในครอบครัว รวมถึงสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย

อาการภาวะไซโคพาธ

  • ผู้ป่วยจะมีลักษณะจิตใจที่แข็งกระด้าง มีพฤติกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง โดยไม่สนใจผู้อื่นในสังคม มีความผิดปกติทางอารมณ์ และความคิดโดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม มักกระทำความรุนแรงซ้ำ ๆ และก่อให้เกิดอาชญากรรม
  • โรคโกหกตัวเอง หรือในวงการจิตวิทยาเรียกว่า Pathological Lying โดยจุดประสงค์ของการโกหก เพื่อให้ตนเองดูดี เรียกร้องความสนใจ และหลุดพ้นจากปัญหา
  • ขาดความสำนึกผิด ไม่สนใจว่าพฤติกรรมส่วนตัวจะส่งผลต่อคนอื่นอย่างไร อาจลืมบางสิ่งทำร้ายคนอื่น แต่ยังไม่มีความรู้สึกผิดใด ๆ ที่ทำให้ผู้คนเจ็บปวด พร้อมทั้งหาเหตุผลเข้าข้างตนเองและตำหนิผู้อื่น
  • ขาดความเห็นอกเห็นใจ บุคคลที่มีภาวะไซโคพาธพยายามทำความเข้าใจว่า คนอื่นอาจรู้สึกกลัว เศร้า หรือวิตกกังวลอย่างไร แต่ตนเองไม่แยแสกับคนที่กำลังทุกข์ทรมานเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ว่าจะบุคคลนั้นจะเป็นเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัวก็ตาม

วิธีการรักษา

  • บุคคลที่มีภาวะไซโคพาธไม่รับผิดชอบต่อปัญหาในชีวิต มองว่าปัญหาเป็นความผิดของคนอื่นเสมอ
  • วิธีการรักษา จิตเวชบำบัดเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงอาการดังกล่าว เพียงอาจช่วยปรับการทำงานของระบบประสาท - พฤติกรรม และลักษณะบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องให้เป็นปกติ แต่ยังต้องใช้ยาบำบัดตามคำแนะนำของจิตแพทย์

ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31623


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท