Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ชุดตรวจ ATK ทิ้งอย่างไร ปลอดภัย ลดเสี่ยงโรค


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: โควิด

12-04-2022 11:48

คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า ชุดตรวจ ATK กลายเป็นชุดอุปกรณ์ที่ต้องมีติดบ้านติดกระเป๋ากันทุกคน บางคนตรวจบ่อยจนนับไม่ถ้วนแล้วก็มี หลังจากตรวจเสร็จก็ทิ้งลงถังขยะทั่วไป โดยไม่มีการผูกมัดถุงขยะให้มิดชิดหรือเขียนป้ายบอกเตือน สิ่งที่เคยชินเช่นนี้กลับกลายเป็นความกังวลต่อการแพร่เชื้อตามจุดทิ้งขยะต่างๆ เนื่องจากชุดตรวจ ATK

ภาพประกอบเคส

คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า ชุดตรวจ ATK กลายเป็นชุดอุปกรณ์ที่ต้องมีติดบ้านติดกระเป๋ากันทุกคน บางคนตรวจบ่อยจนนับไม่ถ้วนแล้วก็มี หลังจากตรวจเสร็จก็ทิ้งลงถังขยะทั่วไป โดยไม่มีการผูกมัดถุงขยะให้มิดชิดหรือเขียนป้ายบอกเตือน สิ่งที่เคยชินเช่นนี้กลับกลายเป็นความกังวลต่อการแพร่เชื้อตามจุดทิ้งขยะต่างๆ เนื่องจากชุดตรวจ ATK มีส่วนที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง น้ำมูก หรือน้ำลาย ที่ใช้ทดสอบถือเป็นขยะติดเชื้อ การกำจัดชุดตรวจ ATK ที่ผ่านการตรวจแล้วอย่างถูกวิธี

ชุดตรวจ ATK ที่ผ่านการตรวจแล้ว ไม่ว่าจะขึ้น 2 ขีด หรือขีดเดียว ไม่ควรทิ้งลงถังขยะทันที เพราะอาจเป็นผลลบปลอม และอาจปนเปื้อนเชื้อโรคอื่นๆ ด้วย โดยวิธีการกำจัดที่ถูกต้องให้ฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือราดด้วยผงฟอกขาว แล้วมัดปากถุงให้แน่น แยกทิ้งกับขยะทั่วไปถ้าทำได้ โดยการทิ้งควรแยกเป็น 2 ส่วน คือ

1) ขยะที่ไม่ได้ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น เอกสารกำกับชุดตรวจ และกล่องบรรจุภัณฑ์ ขยะประเภทนี้ ให้เก็บรวบรวมทิ้งถังขยะทั่วไปที่มีฝาปิดมิดชิดได้เลย

2) ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น ตลับหรือแผ่นทดสอบ หลอดใส่น้ำยา ฝาหลอดหยดไม้ Swap ขยะประเภทนี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูง ต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไปเพราะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคได้

แนวทางการจัดการ ATK ที่ใช้แล้ว เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

  1. กรณีในพื้นที่หรือชุมชนมีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ ให้เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อเป็นประจำทุกวัน ใส่ถุงขยะสีแดง 2 ชั้น ชั้นแรกที่สัมผัสขยะติดเชื้อมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่นแล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากน้ำยาฟอกขาวผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง แล้วเคลื่อนย้ายไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ ประสานไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการเก็บขนขยะติดเชื้อในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดวิธีการนำขยะติดเชื้อไปกำจัด อย่างถูกต้องต่อไป

  2. กรณีในพื้นที่หรือชุมชนไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ หรือระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อเข้าไม่ถึง ให้เก็บรวบรวมและทำลายเชื้อ โดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ถุงใบแรกที่บรรจุขยะติดเชื้อแล้วให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น แล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกครั้ง ซึ่งขยะที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้ว ให้ประสานและนำส่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นำไปกำจัดเป็นขยะทั่วไป โดยหลังจัดการขยะติดเชื้อแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3I9Xro2


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท