Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไรเมื่อตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: โควิด

12-04-2022 09:42

หลายคนเมื่อสงสัยว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 เบื้องต้นจะทำการตรวจ ATK ด้วยตนเอง แล้วหากพบว่าขึ้น 2 ขีด (ผลเป็นบวก ติดเชื้อโควิด-19) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุว่าไม่ต้องให้ตรวจยืนยันซ้ำด้วย RT-PCR แต่ ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อดังนี้

ภาพประกอบเคส

หลายคนเมื่อสงสัยว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 เบื้องต้นจะทำการตรวจ ATK ด้วยตนเอง แล้วหากพบว่าขึ้น 2 ขีด (ผลเป็นบวก ติดเชื้อโควิด-19) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุว่าไม่ต้องให้ตรวจยืนยันซ้ำด้วย RT-PCR แต่ ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อดังนี้

• โทรศัพท์

  • ต่างจังหวัด สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสายด่วนเกี่ยวกับโควิด-19 ประจำอำเภอหรือจังหวัด (ดูรายละเอียดที่เฟสบุ๊กหรือเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขแต่ละจังหวัด
  • กทม. โทร.เบอร์สายด่วนของแต่ละเขต (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์หรือเฟสบุ๊ก กรุงเทพมหานคร: https://bit.ly/3FBOgvw ) หรือเพิ่มเพื่อนทาง Line @BKKCOVID19CONNECT หรือคลิก https://bit.ly/3Iuw7Si
  • กทม. / ต่างจังหวัด หากไม่สะดวก โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 (ส่งให้สถานพยาบาลคัดกรองเบื้องต้น)

• ไปโรงพยาบาลตามสิทธิของท่าน (ผู้ป่วยนอก หรือ OPD Case)

เพื่อเข้ารับบริการที่คลินิกทางเดินหายใจ (ARI Clinic) หรือคลินิกสงสัยผู้ติดเชื้อ (PUI) ที่มีในทุกโรงพยาบาล - สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) รักษาทุกที่ตามนโยบายยกระดับบัตรทอง สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต - สิทธิประกันสังคม ไปโรงพยาบาลตามสิทธิของท่านหรือโรงพยาบาลที่ท่านลงทะเบียนเลือกไว้ - สิทธิข้าราชการ ไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐ

แนวทางการประเมินอาการ

• หากพบว่าไม่มีภาวะเสี่ยง

จะเข้าสู่ระบบการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านตามแนวทาง “เจอ-แจก-จบ” จะได้รับการจับคู่กับสถานพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ด้วยระบบ tele-health (จ่ายยาตามอาการ - โทรติดตามอาการครั้งเดียว (48 ชั่วโมง) – ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง - ไม่ได้รับอาหาร ไม่ได้รับอุปกรณ์ประเมิน เช่น เครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

• หากพบว่ามีภาวะเสี่ยง

  • อาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง จับคู่กับสถานพยาบาลเพื่อเข้าระบบรักษาที่บ้าน (Home Isolation) รับการดูแลแบบ tele-health แพทย์จะพิจารณาว่าจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่
  • อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ และ ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงมาก สองกลุ่มนี้แพทย์จะพิจารณารับการรักษาในโรงพยาบาล และพิจารณาให้ยารักษาที่มียาชนิดตามความเหมาะสม

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
https://bit.ly/3sLB6ZD


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท