Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การทำ Home Isolation สำหรับเด็กที่ติดโควิด-19


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: โควิด

11-04-2022 16:58

ในสถานการณ์ปัจจุบันมีเด็กๆ ติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น และมีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน แม้ว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าที่ผ่านมา แต่พบการติดเชื้อในเด็กๆ มากขึ้น อาจจะมีสาเหตุหลักมาจาก เด็ก 5 – 11 ปี เพิ่งได้รับวัคซีนป้องกัน และมีการเปิดเรียนในบางโรงเรียน

ภาพประกอบเคส

ในสถานการณ์ปัจจุบันมีเด็กๆ ติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น และมีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน แม้ว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าที่ผ่านมา แต่พบการติดเชื้อในเด็กๆ มากขึ้น อาจจะมีสาเหตุหลักมาจาก เด็ก 5 – 11 ปี เพิ่งได้รับวัคซีนป้องกัน และมีการเปิดเรียนในบางโรงเรียน

อาการของเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19

มีไข้อยู่ประมาณ 5 วัน แต่ต้องสังเกตอาการถึง 10 วันและติดตามอาการต่อจนครบ 14 วัน

การทำ Home Isolation สำหรับเด็กที่ติดโควิด19

การรักษาในเด็กเหมือนการรักษาในผู้ใหญ่ เชื้อโอมิครอนในเด็กส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยเหมือนเป็นไข้หวัด อาจจะต้องย้ำให้ผู้ปกครองเข้าใจเพื่อลดความกังวล แพทย์จะมีการพิจารณาอาการก่อน จึงรับเข้าการรักษาแบบ Home Isolation โดยผู้ปกครองสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนในระบบ 1330 2. ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ ARI Clinic โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา 3. ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วอาการดีขึ้น แล้วต้องติดตามอาการต่อเนื่องแบบแยกกักตัวที่บ้าน

เกณฑ์การเข้ารับผู้ป่วยเด็กสู่ Home Isolation

  • อายุเกิน 1 ปี
  • น้ำหนักตัว/ความสูง <160 ในเด็ก (ไม่มีภาวะโรคอ้วน)
  • ไข้สูงน้อยกว่า 39 องศาเซลเซียส ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์
  • ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง เช่น หอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ ลมชักรุนแรง สมองพิการ ไตวาย มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มีพื้นที่กักตัวแยก ห้องน้ำแยกจากผู้ไม่ติดเชื้อ
  • มีผู้ดูแล
  • พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้จะมีทีมแพทย์ พยาบาล คอยประเมินสุขภาพเด็กและครอบครัวทุกวัน โดยขอให้ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการรายงานผลสุขภาพเด็ก และแยกกักตัวที่บ้าน

แต่เมื่อติดตามอาการแล้วพบว่า เด็กมีไข้สูงต่อเนื่อง หายใจเร็ว หายใจลำบาก และซึมลง แพทย์จะพิจารณาให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/171395


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท