Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ภาวะมิสซี (MIS-C) ในเด็ก หลังติดโควิด-19


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: โควิด

11-04-2022 16:53

ภาวะมิสซี Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ เป็นอาการจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้นมา ก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้

ภาพประกอบเคส

ภาวะมิสซี Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ เป็นอาการจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้นมา ก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้

ภาวะ MIS-C เกิดจากอะไร

สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 นี้มากเกินไป ทำให้เกิดการอับเสบของอวัยวะหลายระบบในร่างกาย ปัจจุบันไม่มีปัจจัยการกระตุ้นที่ชัดเจน นอกเหนือจากการติดเชื้อ COVID-19 หรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ COVID-19 มาก่อน พบได้มากในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี

ภาวะ MIS-C ส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นหลักหรืออาจจะเกิดในหลายๆ ระบบพร้อมกัน ได้ เช่น ระบบผิวหนังและเยื่อบุทำให้เกิดเป็นผื่นตามมา หรือระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ผลกระทบต่อระบบหายใจแต่ค่อนข้างน้อย ซึ่งจะแยกกันกับโรค COVID-19 ที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจโดยตรง เนื่องจากภาวะ MIS-C คนไข้ส่วนมากไม่ได้มาจากอาการ ไอ จามหรือ มีน้ำมูก เหมือนโรค COVID-19 แต่อาจจะมีอาการเหนื่อยได้ซึ่งเป็นผลจากหัวใจมากกว่า

อาการของภาวะ MIS-C

ระยะเริ่มต้นของคนไข้ภาวะ MIS-C บางคนอาจมาด้วยอาการ มีไข้สูง อาเจียน ท้องเสียทำให้คิดว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเดินอาหารได้ โดยส่วนมากการดำเนินโรคค่อนข้างเร็วไม่เกิน 1 สัปดาห์ จากนั้นจะมีอาการหลายระบบขึ้นมาให้เราเห็น เช่น เริ่มมีผื่น ปากแดง ตาแดง หายใจเหนื่อย หรือในเด็กบางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ และมีอาการช็อกจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติได้

แนวทางการรักษา

ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเนื่องจากภาวะช็อก ภาวะนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3

ทั้งนี้สามารถรักษาด้วยการให้อิมมูโนกลอบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพบผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะนี้จำนวน 15 คน ซึ่งยังไม่พบผู้เสียชีวิต แต่ยังต้องติดตามการรักษาต่อเนื่องโดยพบว่าร้อยละ 7-14 ยังมีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ

ที่มา : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
https://bit.ly/3vDZ5Md


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท