Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วิธีการดูแลผู้สูงอายุเมื่อเกิดอาการสำลัก


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

11-04-2022 15:55

เมื่ออายุมากขึ้น กลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนลดลง ระบบอวัยวะต่างๆ จะเสื่อมลง อาจจะทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น และสำลักได้

ภาพประกอบเคส

เมื่ออายุมากขึ้น กลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนลดลง ระบบอวัยวะต่างๆ จะเสื่อมลง อาจจะทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น และสำลักได้ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงการมีเสมหะ เศษอาหาร หรือฟันปลอมที่ชำรุดไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ทั้งนี้การป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ อาจทำได้ยาก เพราะอาการที่เกิดขึ้นสังเกตได้ยากและไม่ชัดเจน

เมื่อผู้สูงอายุเกิดอาการสำลัก

ผู้สูงอายุที่เกิดอาการสำลัก หรือมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น จะมีอาการหายใจ ติดขัด มีเสียงคล้ายนกหวีดขณะหายใจ พยายามพูดแต่ไม่มีเสียง อาจหมดสติภายใน 4-5 นาที และอาจจะเสียชีวิตได้

การดูแลเบื้องต้น

สำหรับการดูแลเบื้องต้น ผู้สูงอายุอาจไม่มีแรงในการไอเพื่อขับสิ่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจให้ออกมา ผู้ดูแลต้องช่วยเหลือ ดังนี้

  1. ยืนด้านหลังผู้สูงอายุ ใช้มืออ้อมจากด้านหลังมากำมือประสานไว้ที่หน้าท้องผู้สูงอายุ เหนือสะดือเล็กน้อย
  2. กระแทกมือขึ้นด้านบนบริเวณกะบังลมอย่างรวดเร็วโดยใช้แรงพอสมควร ตามจังหวะที่ผู้สูงอายุพยายามหายใจเอาสิ่งที่อุดกั้นออก
  3. ผู้ดูแลสามารถบอกได้ว่าสิ่งใดที่อุดกั้นทางเดินหายใจจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ทันเวลา

ทั้งนี้การป้องกันอาการสำลัก หรือภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น สามารถทำได้โดยดูแลสุขภาพเหงือกและฟันผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้สำลักง่าย ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการกลืนควรปรึกษาแพทย์เพื่อฝึกการกลืน และรีบรักษาเมื่อมีปัญหาเรื่องไอหรือเสมหะ

ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/164405/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท