Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคกระดูกพรุน


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

11-04-2022 15:22

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูกซึ่งมีผลให้กระดูกบางและเปราะ ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดความเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย มักพบในวัยผู้สูงอายุ จากสถิติพบว่าผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนร้อยละ 30 มีภาวะโรคกระดูกพรุน พบโรคกระดูกพรุนร้อยละ 45 ในผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 35 ของผู้ชายจะเป็นโรคนี้เมื่ออายุ 75 ปี

ภาพประกอบเคส

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูกซึ่งมีผลให้กระดูกบางและเปราะ ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดความเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย มักพบในวัยผู้สูงอายุ จากสถิติพบว่าผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนร้อยละ 30 มีภาวะโรคกระดูกพรุน พบโรคกระดูกพรุนร้อยละ 45 ในผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 35 ของผู้ชายจะเป็นโรคนี้เมื่ออายุ 75 ปี

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การได้รับสารอาหารโดยเฉพาะแคลเซียมไม่เพียงพอ กรรมพันธุ์ การหมดประจำเดือน การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกายและการเป็นโรคเรื้อรัง

อาการ

เป็นภาวะที่เนื้อกระดูกบางลง ทำให้ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักมีอาการปวดหลัง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง อาจมีอาการปวดบริเวณที่กระดูกยุบตัวลง กระดูกเปราะและหักง่าย จึงต้องระวังการหกล้มในผู้สูงอายุ

ตำแหน่งที่มักจะเกิดภาวะกระดูกพรุนและหักง่าย คือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก นอกจากนี้ยังพบว่ากระดูกสันหลังของผู้หญิงอายุ 55-75 ปี จะเกิดการหักยุบมากกว่าในผู้ชาย ทำให้ผู้สูงอายุเตี้ยลงกว่าตอนหนุ่มสาว

จากข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิง เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี จะมีอัตราการเกิดกระดูกสันหลังยุบตัวลงถึงร้อยละ 30 และเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหัก อาจทำให้เดินไม่ได้ หรือเสียชีวิตได้

การรักษา และการดูแลตัวเอง

เป็นการรักษาด้วยยา เพราะฉะนั้น การกินยา หรือบางท่านจะเลือกใช้วิธีฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุน เราก็ควรจะไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและกินยาอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลตัวเอง

  1. ระวังเรื่องพลัดตกหกล้ม เนื่องจากเราเป็นโรคกระดูกพรุน เราล้มนิดเดียวเราอาจจะกระดูกหักได้
  2. อาจจะต้องหมั่นไปเจอแสงแดด เนื่องจากแสงแดดจะช่วยให้ร่างกายเราสังเคราะห์วิตามินD ซึ่งช่วยให้แคลเซียมจากอาหารที่เรากินเข้าไปหรือจากอาหารเสริมที่เรากินเข้าไปดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น โดยเจอแสงแดดอ่อน ๆ วันหนึ่งประมาณ 15 นาที ตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้
  3. การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ สำหรับผู้สูงอายุจะช่วยเพิ่มมวลกระดูก ทำให้มวลกระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยให้กำลังกล้ามเนื้อมีสมรรถภาพที่ดี สมรรถภาพของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่าง ๆ จะดี และช่วยป้องกันการพลัดตกหกล้มได้

ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น อายุเยอะ บางคนมีปัญหาเรื่องข้อ ข้อเข่าเสื่อมบ้าง ข้อสะโพกมีปัญหา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท บางคนมีเรื่องโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไตต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นข้อจำกัดในการออกกำลังกายทั้งสิ้น แนะนำว่า อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลในเรื่องของข้อจำกัดในการออกกำลังกายของเราว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/370Zfmt
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
https://bit.ly/3Ki2kgk


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท