ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตาย
หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย
หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป
11-04-2022 15:20
ภาวะกระดูกขากรรไกรตายเนื่องจากยา (Medication-related osteonecrosis of the jaw; MRONJ) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อยมาก แต่อันตรายค่อนข้างรุนแรง ซึ่งอาการที่แสดงออกมีได้หลายอย่าง เช่น ปวดฟัน ฟันโยก ฟันหลุดออกมาเอง แผลหายช้าหลังจากทำทันตกรรม เหงือกร่น มีหนองไหล และอาจติดเชื้อที่กระดูกขากรรไกร เป็นต้น
ภาวะกระดูกขากรรไกรตายเนื่องจากยา (Medication-related osteonecrosis of the jaw; MRONJ) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อยมาก แต่อันตรายค่อนข้างรุนแรง ซึ่งอาการที่แสดงออกมีได้หลายอย่าง เช่น ปวดฟัน ฟันโยก ฟันหลุดออกมาเอง แผลหายช้าหลังจากทำทันตกรรม เหงือกร่น มีหนองไหล และอาจติดเชื้อที่กระดูกขากรรไกร เป็นต้น
รายการยาที่มีรายงานว่าอาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะนี้ หากใช้ในปริมาณที่สูงเป็นระยะเวลานาน คือ
- ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก (Antiresorptive Drugs) โดยทั่วไปแล้วใช้สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุน
- ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ (Antiangiogenic agents) ใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งบางชนิด
โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด และโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ปัจจุบันใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตชนิดรับประทานอยู่ไม่ต้องรู้สึกกังวลหรือกลัวกับการเกิดภาวะนี้มากนักเนื่องจากความถี่ของอุบัติการณ์นี้พบน้อยมาก ประมาณ 0.7 ต่อ 100,000 รายต่อปี รวมทั้งปริมาณยาที่ร่างกายได้รับจะน้อยมากประมาณร้อยละ 1 ของขนาดยาที่รับประทาน ภาวะกระดูกขากรรไกรตายเนื่องจากยาส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาชนิดฉีดเพื่อรักษามะเร็ง เนื่องจากยาฉีดมีขนาดยาที่สูงและความถี่ในการใช้ยาบ่อยกว่านอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายเนื่องจากยามีทั้งที่เกี่ยวกับยาและเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย เช่น ความแรงของยา ระยะเวลาที่ได้รับยาอนามัยในช่องปาก ลักษณะทางชีวภาพของกระดูกขากรรไกร มีการใช้ยาสเตียรอยด์ร่วม เป็นต้น
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตาย หากมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาโรคด้วยยา 2 กลุ่มดังกล่าวข้างบน มีดังนี้
- รักษาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ใช้ยา
- เมื่อต้องเข้ารับการรักษาฟันหรือการผ่าตัดทางทันตกรรม ให้แจ้งทันตแพทย์ทราบทุกครั้ง ว่าใช้ยากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายอยู่
- แจ้งแพทย์และทันตแพทย์ทันที หากเกิดปัญหาในช่องปากหรือฟันในช่วงที่ใช้ยา เช่น ฟันโยก ปวดฟัน เหงือกบวม แผลในปากที่รักษาไม่หาย
- พบทันตแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ
ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://bit.ly/35YWYIc