Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เครียดลงกระเพาะ โรคฮิตคนทำงาน


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

11-04-2022 14:49

โรคกระเพาะ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแผลและกลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบกับภาวะเครียดลงกระเพาะจะเกิดกับโรคกระเพาะกลุ่มที่ไม่มีแผล

ภาพประกอบเคส

โรคกระเพาะ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแผลและกลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบกับภาวะเครียดลงกระเพาะจะเกิดกับโรคกระเพาะกลุ่มที่ไม่มีแผล

อาการของภาวะเครียดลงกระเพาะ
ส่วนใหญ่จะมีอาการปวด จุก แน่น แสบบริเวณลิ้นปี่ มักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหาร และอาจเกิดอาการระหว่างมื้ออาหารได้เช่นเดียวกัน อาการมักไม่รุนแรง เป็น ๆ หาย ๆ มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงมาก ส่วนการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ หรือมีอาการแสบที่ยอดอกนั้น มักเป็นผลจากการที่มีโรคร่วม เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคกรดไหลย้อนตามลำดับ

การรักษา
หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ คุณหมอจะให้คำแนะนำกับผู้ป่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ดังนี้ 1.รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เวลาเดิมทุกวัน 2.ชนิดของอาหาร อาหารบางชนิดจะกระตุ้นให้เกิดอาการค่อนข้างบ่อย เช่น อาหารที่มีรสจัดจะทำให้เกิดอาการแสบหรือปวดท้องได้บ่อยขึ้น และอาหารมันก็มักจะทำให้เกิดอาการจุก แน่นท้อง และต้องหลีกเลี่ยงยาหรือสารบางอย่างที่ทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน กลุ่มเอ็นเสด

นอกจากนั้น การดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะลดปัญหาอาการกำเริบได้ หากปฏิบัติเบื้องต้นแล้ว อาการยังไม่ทุเลา แนะนำให้พบคุณหมอเพื่อตรวจเพิ่มเติมตามเหมาะสม และใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้

เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วคนไข้มักจะมีอาการเรื้อรัง พบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ 30% ของผู้ป่วยจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ในขณะที่ 20% ของผู้ป่วยจะมีอาการต่อเนื่องได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ รับประทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็วขึ้น มีถ่ายอุจจาระดำ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเรื้อรัง หากมีอาการที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม ปรึกษาคุณหมอ สืบค้นเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาดูว่าจะเกิดภาวะหรือโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนขึ้นมาหรือไม่

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://bit.ly/3IJaJbz


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท