Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ท่านั่งอันตราย เสี่ยงปวดหลัง-ไหล่


หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

11-04-2022 14:15

การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ดูเหมือนไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะไม่ได้ใช้แรงงานหนักหน่วง แต่เชื่อหรือไม่ว่า การนั่งเฉย ๆ ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ก็มีอันตรายไม่แพ้ผู้ใช้แรงงานอื่น ๆ เลยทีเดียว โดยท่านั่งที่มีความเสี่ยงต่ออาการปวดหลัง ปวดไหล่

ภาพประกอบเคส

การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ดูเหมือนไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะไม่ได้ใช้แรงงานหนักหน่วง แต่เชื่อหรือไม่ว่า การนั่งเฉย ๆ ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ก็มีอันตรายไม่แพ้ผู้ใช้แรงงานอื่น ๆ เลยทีเดียว โดยท่านั่งที่มีความเสี่ยงต่ออาการปวดหลัง ปวดไหล่ ดังนี้

  1. ท่านั่งไขว่ห้าง
    การท่านั่งไขว่ห้างอาจทำให้ดูบุคลิกดี แต่เมื่อลงน้ำหนักไปที่ขาและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง จะส่งผลให้เลือดบริเวณขาไหลเวียนได้ไม่ดี และทำให้กล้ามเนื้อสะโพก เอว ยาวไปถึงหลังศีรษะผิดรูป กล้ามเนื้อข้างกระดูกไม่สมดุล กระดูกชายโครงเกร็ง รั้ง และอาจทำให้กระดูกสันหลังคดงอ เส้นประสาททำงานผิดปกติ ไปจนถึงหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือเคลื่อนทับเส้นประสาทได้

  2. การนั่งหลังค่อม การนั่งหลังค่อมอาจเป็นท่าที่สบาย ผ่อนคลายของใครหลายคน แต่อาจนั่งจนลืมตัวติดเป็นนิสัยได้ ซึ่งการนั่งหลังค่อมเป็นประจำจะทำให้กระดูกสันหลังโก่งงอ และหากอยู่ท่าเดิมโดยไม่ขยับจะทำให้จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดอาการคั่งของกรดแล็คติคจนมีอาการเมื่อยล้า และกระดูกคดงอผิดรูปถาวร

  3. การนั่งเบาะไม่เต็มก้น การนั่งแค่ครึ่งเบาะ หลังไม่พิงพนัก นอกจากจะทำให้หลังค่อมแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก เพราะฐานหรือก้นรองรับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่

  4. นั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้นาน ๆ นั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้นาน ๆ อาจทำให้เป็นเหน็บชา เนื่องจากเลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก และอาจเป็นสาเหตุของข้อเข่าเสื่อมได้

  5. นั่งทับขาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและกระดูกสันหลังคดงอ

  6. นั่งยกไหล่โดยที่รู้ตัว เนื่องจากตำแหน่งของเบาะเก้าอี้และโต๊ะวางคอมพิวเตอร์ไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เวลาพิมพ์งานหรือใช้เม้าส์ต้องยกไหล่ขึ้นเพื่อทำงานให้ถนัดมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่และๆปวดหลังเรื้อรัง

  7. การวางแล็ปท็อปหรือโน๊ตบุ๊คบนตัก หลายคนชอบทำงานบนโซฟาหรือเตียงนอนโดยนำแล็ปท็อปหรือโน๊ตบุ๊คมาวางบนตักในขณะทำงานที่พิมพ์งาน ซึ่งทำให้หน้าจอและแป้นพิมพ์อยู่ต่ำเกินไป จึงต้องก้มลงมองจอ จนอาจทำให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังได้

ที่มา : สภากาชาดไทย
https://bit.ly/3N3lzfR


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท