ภาวะ "Languishing"
หมวดหมู่หลัก: ฟรีแลนซ์
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
11-04-2022 14:13
หลายคนที่กำลังเผชิญกับสภาวการณ์โควิด-19 แล้วต้องอยู่ที่บ้านตลอดเวลาเพื่อหลีกหนีภัยของโรค แต่ในขณะเดียวกัน การที่ได้อยู่ในที่พักอาศัยเพื่อความปลอดภัยให้กับตนเองนั้น ก็อาจจะมีความรู้สึกเนือย ๆ เบื่อ ๆ ในบางครั้ง ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่า "Languishing"
หลายคนที่กำลังเผชิญกับสภาวการณ์โควิด-19 แล้วต้องอยู่ที่บ้านตลอดเวลาเพื่อหลีกหนีภัยของโรค แต่ในขณะเดียวกัน การที่ได้อยู่ในที่พักอาศัยเพื่อความปลอดภัยให้กับตนเองนั้น ก็อาจจะมีความรู้สึกเนือย ๆ เบื่อ ๆ ในบางครั้ง ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่า "Languishing"
สำหรับ สภาวะ "Languishing" นั้น หมายถึง การอยู่ในภาวะว่างเปล่า จะเกิดอารมณ์ที่รู้สึกเนือยๆ ไม่อยากทำอะไรเป็นพิเศษ เกิดความรู้สึกขาดแรงจูงใจ ไร้จุดมุ่งหมายในชีวิต เพราะไม่รู้ว่าในอนาคตข้างหน้านั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และจากการศึกษาเพิ่มเติมมีการพบว่า สภาวะนี้มักจะพบมากในช่วงวัย 25-74 ปี เกิดจากอารมณ์เหนื่อยหน่ายกับการพยายามทำอะไรบางอย่างมานาน ๆ ที่ยิ่งทำก็ยิ่งพบว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เช่น ช่วงที่มีโรคระบาดแรกๆ ทุกคนตื่นตัว เรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ แต่พอได้ทำทุกอย่างก็แล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงสักเท่าไร ความรู้สึกเหนื่อยหน่ายไร้จุดมุ่งหมายก็เกิดขึ้นมาบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จนเกิดความรู้สึกว่างเปล่า จนทำให้เกิดความเนือยเฉื่อยชาในที่สุด
อาการสภาวะ "Languishing"
"Languishing" อาจจะดูคล้ายๆ กับ ภาวะซึมเศร้า แต่หากมีแค่อาการดังต่อไปนี้ ก็อาจจะเป็นแค่สภาวะที่ว่าก็เป็นได้ ได้แก่
- มีความรู้สึกเนือยๆ เหนื่อยแต่ไม่ได้เกิดอาการหมดไฟ เพราะยังมีความรู้สึกอยากทำอะไรหลาย ๆ อย่าง แค่ยังไม่มีกะจิตกะใจจะทำเท่านั้น
- เกิดความรู้สึกไม่สนุกเหมือนก่อน แต่ไม่ได้รู้สึกเศร้า หรือซึมลึก
- เกิดการเคว้ง มีความรู้สึกเหมือนชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่ไม่ถึงกับหมดหวัง
- ทำงานหรือเรียนได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่เคย แต่ไม่ถึงกับทำงานไม่ได้ หรือเข้าเรียนไม่ได้
ถ้าเจอภาวะ Languishing ต้องทำยังไงดี
- พยายามทำกิจกรรมที่สนุกท้าทาย เช่น ลองเปิดใจที่จะดูหนัง หรือ ซีรีส์ที่ไม่เคยดูมาก่อน หรือลองเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ให้ตัวเอง
- ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ในชีวิตและพิชิตให้ได้ ได้แก่ ลองเล่นเกมที่ต้องมีการผ่านด่านต่าง ๆ เพื่อให้ได้เล่นต่อ หรืออาจตั้งเป้าหมายอื่น ๆ เช่น จัดห้องใหม่ เคลียร์ตู้เสื้อผ้าไปบริจาคหรือขาย พิชิตชัยในการลดน้ำหนัก เป็นต้น
- หาเวลาโฟกัสในสิ่งที่ต้องทำ หากยังมีความรู้สึกที่เนือย ๆ น่าจะแบ่งเวลาส่วนตัวของตัวเองให้ได้โฟกัสงาน โฟกัสการเรียน หรือทำกิจกรรมที่ชอบโดยไม่มีคนมาขัดจังหวะ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้ชีวิตในแต่ละวัน
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3Jc7p9K