Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เลี้ยงลูกอย่างไร โตไปไม่โกหก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

11-04-2022 13:35

แม้ว่าการให้ความสำคัญกับการ “เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ” มากกว่าการใช้ความรุนแรงจะเป็นสิ่งที่หลายครอบครัวยุคปัจจุบันนำมาปฏิบัติ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นฐานครอบครัวและการเลี้ยงดูของผู้ปกครองนั้นสำคัญ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเติบโตของเด็กคนต่อการก้าวไปเป็น “ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ”และหนึ่งในพฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรส่งเสริมและให้ความสำคัญในการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก คือ “การพูดความจริง”

ภาพประกอบเคส

แม้ว่าการให้ความสำคัญกับการ “เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ” มากกว่าการใช้ความรุนแรงจะเป็นสิ่งที่หลายครอบครัวยุคปัจจุบันนำมาปฏิบัติ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นฐานครอบครัวและการเลี้ยงดูของผู้ปกครองนั้นสำคัญ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเติบโตของเด็กคนต่อการก้าวไปเป็น “ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ”และหนึ่งในพฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรส่งเสริมและให้ความสำคัญในการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก คือ “การพูดความจริง”

ทำไมเด็กชอบพูดโกหก
เด็กในช่วง 2 – 6 ขวบ อาจยังไม่สามารถแยกแยะอะไรจริง อะไรไม่จริง รวมถึงอาจมีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น เด็กๆ กลัวที่จะได้รับการตอบสนองในแง่ลบทั้งกับตัวเองและคนอื่นๆ พูดความจริงแล้วอาจทำให้ตัวเอง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย ผิดหวัง เสียใจ ไม่พอใจ โกรธ หรือมีความรู้สึกในแง่ลบ จึงเลือกที่จะพูดแล้วทำให้คุณพ่อคุณแม่ หรือคนอื่นๆ สบายใจ ไม่โกรธ ไม่ดุด่า

พ่อแม่จะมีอิทธิพลต่อลูกอย่างไร
พ่อแม่ควรรับฟังเรื่องราวของลูก เมื่อลูกมาเล่าว่าทำอะไรผิดมา อย่าไปตำหนิติเตียนทันที ในทางกลับกันให้รับฟังก่อน ให้ชื่นชมที่ลูกกล้าและยอมพูดความจริง ลูกจะได้เรียนรู้ว่าเขาสามารถพูดความจริงได้ ไม่ต้องปิดบัง จนพฤติกรรมดีๆ นี้ก็จะกลายเป็นธรรมชาติและนิสัยที่ดีติดตัวไป และจะดียิ่งขึ้นเมื่อคุณได้ถามวิธีแก้ปัญหาครั้งนั้น โดยอาจช่วยลูกวางแผนร่วมกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร หรือจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นอีก

ทำอย่างไรให้เด็กๆ กล้าพูดความจริง
ควรให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ทำ และเมื่อเขาโตขึ้นพฤติกรรมและนิสัยที่ดีจะติดตัวเขาไป รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร แต่อย่าลืมว่าพ่อแม่ผู้ปกครองมีผลกับเด็ก เราจึงมีส่วนให้เกิดนิสัยที่ซื่อสัตย์ต่อความจริงด้วย ผู้ปกครองควรสื่อสารให้เด็กรับรู้ว่าการโกหกเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ แต่ไม่ต้องตำหนิหรือลงโทษรุนแรงจนลูกรู้สึกกลัวที่จะพูดความจริง

วิธีปราบ ลูกชอบโกหก
พ่อแม่ต้องเปลี่ยนวิธีการพูด ทำให้ลูกไว้ใจ เช่น เมื่อลูกทำจานระบายสีหกเลอะเทอะ พ่อแม่อาจพูดกับลูกว่า “แม่เห็นลูกทำสีหก ลูกไปหาผ้ามาเช็ดพื้นหน่อย พื้นจะได้ไม่เลอะ เดี๋ยวลูกลื่นสีหกล้มนะ” ดีกว่าที่จะต่อว่า “ลูกทำอะไรน่ะ” เพื่อไม่ให้ลูกปฏิเสธ

อย่าตำหนิ ด่า ต่อว่ารุนแรง หรือลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อลูกทำผิด ให้คุยกันด้วยเหตุผล เพราะจะได้ไม่ทำให้เด็กปิดบังความผิด เพราะบางครั้งเด็กอาจจะกลัวที่จะถูกลงโทษ สร้างพฤติกรรมโกหกให้ตัวเอง จะทำให้เด็กกลายเป็นคนชอบโกหกมากขึ้น

ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://bit.ly/3t8X7BY


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท