ครอบครัวรุนแรงเปลี่ยนแปลงเด็กไม่รู้ตัว
หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
11-04-2022 13:29
ความรุนแรงในครอบครัวไม่ว่าจะรูปแบบใดล้วนสร้างความทุกข์ทรมานทางใจให้กับสตรีและเด็ก ตลอดจนเป็นปัญหาที่สร้างความสูญเสียและผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพเด็ก และสตรี ส่งผลให้ครอบครัวต้องแบกรับภาระที่ยาวนาน ทั้งการดำเนินคดี การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟูทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัวไม่ว่าจะรูปแบบใดล้วนสร้างความทุกข์ทรมานทางใจให้กับสตรีและเด็ก ตลอดจนเป็นปัญหาที่สร้างความสูญเสียและผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพเด็ก และสตรี ส่งผลให้ครอบครัวต้องแบกรับภาระที่ยาวนาน ทั้งการดำเนินคดี การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟูทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว
รูปแบบการใช้ความรุนแรงที่ส่งผลต่อเด็กโดยไม่รู้ตัว เช่น - ทางร่างกาย เช่น ตบ เตะ ตี รัดคอ อาจถึงขั้นเสียชีวิต - ทางเพศ เช่น การข่มขืน ล่วงละเมิด การขู่บังคับทางเพศทุกอย่าง - ทางจิตใจ เช่น การกักขัง ดูถูก ทำให้อับอาย รับรู้และซึมซับความรุนแรง - ครอบครัว เช่น เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อความรุนแรงด้านจิตใจ
ผลกระทบต่อเด็กเมื่อต้องเผชิญความรุนแรง ทั้งทางกายและทางใจ
- โดดเดี่ยว มีปัญหาต่อการเข้าสังคม
- ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองช้ากว่าเด็กทั่วไป
- ส่งผลให้เด็กสมาธิสั้น มีปัญหาด้านการเรียน
- เด็กอาจเก็บตัว เกิดภาวะซึมเศร้า และมีแนวโน้มฆ่าตัวตายได้
- มีแนวโน้มใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น
- มีแนวโน้มในการทำผิดกฎหมายหรือก่ออาชญากรรม
ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดจากด้านความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในครอบครัว ซึ่งแนวทางป้องกันหรือลดความรุนแรงที่สามารถทำได้ คือ ต้องเริ่มจากครอบครัวและตัวเราก่อน พื้นฐานที่ดีของครอบครัวถือเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว มีการสื่อสารทางบวก ยอมรับบทบาทของกันและกัน เคารพและให้เกียรติ ให้ความรัก เอาใจใส่ ไม่นอกใจกัน ควบคุมอารมณ์ ให้อภัยซึ่งกันและกัน หันหน้าหารือกันเพื่อแลกเปลี่ยนและหาข้อยุติของปัญหา
รวมทั้งอบรมเลี้ยงดูและปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม ทั้งลูกผู้หญิงและลูกผู้ชายให้มีความเสมอภาคชายหญิงเท่าเทียมกัน สอนให้รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูล เคารพซึ่งกันและกัน ไม่ใช้อำนาจ ไม่เอาเปรียบ สอนทักษะระงับความโกรธ หรือเมื่อจะลงโทษลูกควรเลือกใช้วิธีอื่นแทนการเฆี่ยนตี เช่น ให้ทำงานบ้านชดเชย ตลอดจนเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกหลาน ยึดหลักศาสนา พัฒนาจิตตัวเอง เห็นถึงบทบาทที่ดีของหญิงชาย
ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
https://bit.ly/35T4X9E