Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ดูแลผู้สูงอายุ : สมองเสื่อม


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

21-03-2022 10:36

ภาวะสมองเสื่อม ปัญหาสำคัญที่ทุกคนพยายามดูแลตัวเองและผู้สูงอายุในบ้านให้ห่างไกลจากโรคนี้ ในผู้สูงอายุ จะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ใกล้ชิดและครอบครัวจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ศึกษาพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถหาวิธีรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

ภาพประกอบเคส

ภาวะสมองเสื่อม ปัญหาสำคัญที่ทุกคนพยายามดูแลตัวเองและผู้สูงอายุในบ้านให้ห่างไกลจากโรคนี้ ในผู้สูงอายุ จะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ใกล้ชิดและครอบครัวจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ศึกษาพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถหาวิธีรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

  1. ทำความรู้จักและเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อมให้ดี เพื่อหาวิธีรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  2. ทำความเข้าใจกับคนไข้ ใช้ได้ในกรณีที่คนไข้ยังมีปัญหาสมองเสื่อมไม่มาก ซึ่งอาจจะสามารถยอมรับได้กับการอธิบายถึงข้อจำกัดของตนเองที่เปลี่ยนแปลงไป
  3. แก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากที่สุดก่อน พยายามหลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขปัญหาหลายอย่างพร้อมๆ กัน
  4. ผู้ดูแลคนไข้ ควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ เนื่องจากการที่ต้องดูแลคนไข้ภาวะสมองเสื่อมติดต่อกันตลอด ทำให้เกิดความอ่อนล้า เครียด ความอดทนลดลงและหงุดหงิดง่าย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดูแลในระยะยาว
  5. ใช้สัญชาตญาณและจินตนาการให้มาก มีความยืดหยุ่น อย่ายึดติดกับความถูกต้องทั้งหมด ปรับตัวเข้าหาคนไข้
  6. พยายามทำจิตใจให้สดใส อารมณ์สดชื่น สนุกสนาน ถ้าผู้ดูแลอารมณ์ดี จะมีผลที่ดีต่อการดูแลคนไข้
  7. พยายามจัดรูปแบบการดูแลที่สม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สามารถคาดการณ์ได้ คนไข้อาจค่อย ๆ เรียนรู้ได้ทีละเล็ก ทีละน้อย รวมทั้งพยายามปรับสิ่งรอบตัวให้เรียบง่าย เช่น ไม่เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในบ้านบ่อย ๆ
  8. พยายามพูดสื่อสารกับคนไข้เป็นประจำ อธิบายสั้นๆ ว่า กำลังทำอะไรเป็นขั้นๆ ทีละขั้นตอน ทางที่ดีควรให้คนไข้มีส่วนในการตัดสินใจด้วยจะดีกว่า
  9. หลีกเลี่ยงการพูดถึงคนไข้ต่อหน้า โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์คนไข้ และพยายามเตือนผู้อื่นไม่ให้ทำเช่นนั้น
  10. ควรได้รับการใส่สร้อย สร้อยข้อมือ หรือพกบัตรที่บอกว่าคนไข้มีปัญหาด้านความจำและหมายเลขติดต่อกลับ วิธีนี้จะช่วยลดความวุ่นวายในการตามหาตัวได้ หากคนไข้เดินออกนอกบ้านโดยไม่มีใครรู้
  11. พยายามให้คนไข้ได้ทำกิจกรรมต่างๆ บ้าง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและทำให้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมในครอบครัวและชีวิตมีความหมาย แต่หลีกเลี่ยงการกระตุ้นหรือพยายามฝืนคนไข้จนเกินไป เนื่องจากอาจทำให้หงุดหงิดและทำให้ผู้ดูแลอารมณ์เสียได้เช่นกัน

ที่มา : ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
http://bit.ly/2dxlDa4


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท