Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

21-03-2022 10:20

จากสถิติของโรงพยาบาลศิริราช “ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน” หรือ “โรคหูดับฉับพลัน” พบผู้ป่วยภาวะนี้ร้อยละ 7.7 ของผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมทั้งหมดที่มาพบแพทย์ ช่วงอายุ 40 - 70 ปี มักเกิดที่หูข้างเดียว ประสาทหูอาจเกิดการเสื่อมทันทีทันใด หรือภายในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจรู้สึกได้ยินน้อยลงเล็กน้อย หรืออาจจะรู้สึกสูญเสียการได้ยินมาก จนไม่ได้ยินในหูข้างที่เป็นเลยก็ได้ อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือถาวร จนถึงขั้นหูหนวกได้ หากไม่ได้รับการรักษา

ภาพประกอบเคส

จากสถิติของโรงพยาบาลศิริราช “ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน” หรือ “โรคหูดับฉับพลัน” พบผู้ป่วยภาวะนี้ร้อยละ 7.7 ของผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมทั้งหมดที่มาพบแพทย์ ช่วงอายุ 40 - 70 ปี มักเกิดที่หูข้างเดียว ประสาทหูอาจเกิดการเสื่อมทันทีทันใด หรือภายในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจรู้สึกได้ยินน้อยลงเล็กน้อย หรืออาจจะรู้สึกสูญเสียการได้ยินมาก จนไม่ได้ยินในหูข้างที่เป็นเลยก็ได้ อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือถาวร จนถึงขั้นหูหนวกได้ หากไม่ได้รับการรักษา

อาการ

มักไม่ค่อยได้ยินเสียงเมื่อผู้พูดอยู่ไกล และได้ยินดีขึ้นในบรรยากาศที่เงียบสงัด อาจมีเสียงดังในหูซึ่งมักจะเป็นเสียงที่มีระดับความถี่สูง เช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น หรือเวียนศีรษะร่วมด้วย

สาเหตุ

ร้อยละ 85 - 90 ไม่ทราบสาเหตุ โดยอาจเกิดจาก

  1. การติดเชื้อไวรัส ทำให้มีการอักเสบของประสาทหูและเซลล์ประสาทหู และทำหน้าที่ผิดปกติไป
  2. การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน ทำให้เซลล์ประสาทหูและประสาทหูขาดเลือด
  3. การรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปในหูชั้นกลาง เช่น การเบ่ง, การสั่งน้ำมูก หรือไอแรงๆ ในส่วนที่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจาก
  4. การบาดเจ็บ ที่ศีรษะ การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดหูชั้นกลาง การเปลี่ยนแปลงของความกดดันของหูชั้นใน ดำน้ำ เสียงปะทัด เป็นต้น
  5. เนื้องอก เช่น เนื้องอกของประสาททรงตัวที่มีการเพิ่มขนาดอย่างเฉียบพลัน
  6. การติดเชื้อของหูชั้นใน
  7. สารพิษและพิษจากยาบางชนิด ซึ่งอาจทำให้หูตึงชั่วคราว
  8. โรคมีเนียหรือน้ำในหูไม่เท่ากัน

การรักษา

  1. ในรายที่ทราบสาเหตุ รักษาตามสาเหตุ หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ
  2. ในรายที่ไม่ทราบสาเหตุ มักจะมีโอกาสหายได้เองสูงถึงร้อยละ 60-70 ส่วนใหญ่การรักษามุ่งหวังให้มีการลดการอักเสบของประสาทหู และให้มีเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น ลดการรั่วของน้ำในหูชั้นในที่เข้าไปในหูชั้นกลาง

ที่มา : ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=777&id=777


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท