Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

ทำอย่างไรเมื่อลูก “แหวะนม”


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

21-03-2022 08:29

ลูกอาจมีอาการแหวะนมเล็กน้อยหลังมื้อนม แต่บางครั้งอาจออกมาทั้งทางจมูกและปากจนคุณแม่ตกใจ น้ำนมที่ออกมาอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายเต้าหู้ เนื่องจากถูกกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดว่าน้ำนมไม่ย่อย และนมที่ให้ลูกนั้นไม่ดี

ภาพประกอบเคส

อาการ “สำรอก” หรือ “แหวะนม” ภายหลังดูดนมพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด คุณแม่ควรสังเกต ว่านมที่ลูกแหวะออกมาไม่มีสิ่งอื่นเจือปน เช่น เลือด หรือมีสีเหลืองของน้ำดี หรือมีกลิ่นเหม็นรุนแรง อาการทั่วไปปกติ หลังแหวะนมแล้วลูกยังดูดนมใหม่ได้ ดูอารมณ์ดี เจริญเติบโตได้ปกติ ก็ไม่น่าเป็นห่วงเพราะอาการสำรอกนี้อาจเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี รูดปิดไม่สนิท ประกอบกับนมเป็นของเหลวทำให้ไหลย้อนออกมาได้ง่าย

ลูกอาจมีอาการแหวะนมเล็กน้อยหลังมื้อนม แต่บางครั้งอาจออกมาทั้งทางจมูกและปากจนคุณแม่ตกใจ น้ำนมที่ออกมาอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายเต้าหู้ เนื่องจากถูกกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดว่าน้ำนมไม่ย่อย และนมที่ให้ลูกนั้นไม่ดี

เมื่อเราจับให้เรอในท่าที่เด็กตัวตั้งขึ้น ซึ่งอาจเป็นการจับตั้งในท่านั่งหรืออุ้มพาดบ่า ลมซึ่งอยู่สูงกว่านมในท้องก็จะออกมา ก็คือการเรอออก ซึ่งอาจได้ยินเสียงหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่ได้ไล่ลมหรือไล่ลมไม่หมด แล้วให้นอน เวลาลูกเรอก็จะออกมาทั้งนมและลม ก็เป็นการแหวะนม ถ้าไล่ลมแล้วยังแหวะ หรือแหวะก่อนจะทันได้ไล่ลม ก็ต้องมาดูสาเหตุอื่น เช่นเป็นเด็กที่ดูดนมเร็วหรือดูดนมนานหรือไม่ เด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้จะได้ลมเข้าไปเยอะ อาจไล่ไม่หมด มีวิธีช่วยโดยการไล่ลมเป็นระยะ เช่นกินได้ครึ่งอิ่มหรือเวลาเปลี่ยนข้างที่ดูด ก็ไล่ลมเสียทีหนึ่ง กินต่อจนอิ่ม ก็ไล่ลมอีกที แล้วเวลานอน อาจให้ศีรษะอยู่สูงหน่อย จับตะแคงขวาสักครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ส่วนบนของกระเพาะซึ่งอยู่ด้านซ้ายอยู่สูงกว่าส่วนอื่น นมก็จะไหลย้อนขึ้นยากหน่อย

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักเวลาแหวะนม อย่าจับลูกตั้งขึ้นนะคะ ให้จับลูกวางนอนตะแคง ศีรษะอยู่ในระดับเดียวกับลำตัวหรือต่ำกว่าเล็กน้อย เพื่อให้น้ำนมไหลออกมาข้างนอก ไม่สำลักเข้าหลอดลมและปอด และและถ้ามีน้ำนมค้างอยู่ในรูจมูก ก็ให้เช็ดออกเพื่อป้องกันการสำลักนม

ปัญหานี้จะค่อยๆ หายไปเองตามธรรมชาติ เมื่อเด็กอายุได้ 3 – 4 เดือน แต่ถ้ามีอาการทุกมื้อ มีปัญหาน้ำหนักลด หรือไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ ควรต้องนำไปพบกุมารแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

ที่มา : มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
https://bit.ly/2x6UJ15


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท