Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

“กิน กอด เล่น เล่า” สร้างพัฒนาการเด็ก


หมวดหมู่หลัก: พ่อแม่มือใหม่

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

20-03-2022 08:28

การเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพนั้น พ่อแม่คือคนสำคัญ ที่ช่วยให้เด็กให้เติบโตอย่างมีสุขภาพกาย ใจ และสติปัญญาที่สมบูรณ์ มีความสุขและสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงอายุ 0-5 ปี ด้วยแนวคิด “กิน กอด เล่น เล่า”

ภาพประกอบเคส

การเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพนั้น พ่อแม่คือคนสำคัญ ที่ช่วยให้เด็กให้เติบโตอย่างมีสุขภาพกาย ใจ และสติปัญญาที่สมบูรณ์ มีความสุขและสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงอายุ 0-5 ปี ด้วยแนวคิด “กิน กอด เล่น เล่า”

  • กิน : ในช่วง 0 – 3 ปีแรก สมองเด็ก จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึงร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กจะได้เรียนรู้และมีพัฒนาการทั้งร่างกายและสมองแม่ควรให้ลูกกินนมแม่ อย่างเดียวถึง 6 เดือนและต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีขึ้นไปเพราะนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสมอง รวมถึงเป็นกิจกรรมที่ทำให้แม่และเด็กใกล้ชิด โอบกอด สัมผัสกันและกัน ทำให้เกิดสายใยความรักความผูกพัน และยังทำให้เด็กมี IQ และ EQ ที่ดีในอนาคต
  • กอด : การอบรมเด็กต้องทำด้วยความรักความเข้าใจ และใช้เหตุผล ไม่ควรใช้อารมณ์ บังคับฝืนใจ และไม่ดุด่าให้ลูกกลัว และเสียกำลังใจพ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่าง คอยให้คำแนะนำพูด ชมเชยเมื่อลูกทำได้ และให้รางวัลถ้าเขาทำได้ดีซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็ก เพียงแค่กอดอย่างอ่อนโยนหอมแก้ม ตบมือให้ เท่านี้เด็กก็ภูมิใจมากแล้ว
  • เล่น : พ่อแม่ควรพูดคุยเล่นส่งเสียงร้องเพลงกับเด็ก ช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือนเลือกของเล่นที่มีเสียงและเป็นภาพ เลือกของที่เด็กคว้าจับได้ 6 เดือนถึง 1 ปีให้เด็กได้นั่งเล่นของเล่นเช่น บล็อกตัวต่อนิ่ม ลูกบอลเล็ก หรือปล่อยของลงพื้น อายุ 2-3 ปี ให้เด็กได้เล่นรูปต่อเป็นภาพหุ่นมือ ตุ๊กตาหรือกระโดด ปีนป่าย เพื่อทดสอบทักษะร่างกายของตัวเอง เมื่ออายุ 3-5 ปี ปล่อยให้เด็กเล่นกับเด็กคนอื่น ใช้จินตนาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต
  • เล่า: พ่อแม่สามารถเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนให้เริ่มเล่านิทานให้ฟังเป็นประจำทุกวันจนเด็กโตควรเลือกนิทานที่มีภาพน่ารัก รูปสัตว์ ใช้เสียงสูงๆ ต่ำๆ หรือร้องเพลงประกอบขณะเล่าทุกครั้งและควรเล่าให้จบเล่ม

ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/hug/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท