Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

นอนกรน อันตรายแค่ไหน


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

18-03-2022 09:00

เสียงกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่จมูก ช่องลำคอ โคนลิ้น หรือบางส่วนของกล่องเสียงซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวลงในขณะหลับ จนทำให้เมื่อลมหายใจผ่านเนื้อเยื่อดังกล่าว เกิดการสั่นสะเทือนและมีเสียงดังขึ้น หากบางครั้งเกิดการตีบแคบมากขึ้นจนอุดกลั้นลมหายใจทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าออกได้เป็นระยะ ๆ ซึ่งเราเรียกลักษณะดังกล่าวว่า “โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA)” หรือ “โรคหยุดหายใจขณะหลับ”

ภาพประกอบเคส

เสียงกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่จมูก ช่องลำคอ โคนลิ้น หรือบางส่วนของกล่องเสียงซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวลงในขณะหลับ จนทำให้เมื่อลมหายใจผ่านเนื้อเยื่อดังกล่าว เกิดการสั่นสะเทือนและมีเสียงดังขึ้น หากบางครั้งเกิดการตีบแคบมากขึ้นจนอุดกลั้นลมหายใจทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าออกได้เป็นระยะ ๆ ซึ่งเราเรียกลักษณะดังกล่าวว่า “โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA)” หรือ “โรคหยุดหายใจขณะหลับ”

โรคหยุดหายใจขณะหลับทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้หลายอย่าง ดังนี้

  • เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์และอัมพาต ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความง่วงนอนมากผิดปกติ
  • เสี่ยงต่อความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง หรือความจำถดถอย
  • ก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้นอนร่วมห้อง
  • หากมีการหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก อาจทำให้มีความผิดปกติของพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสติปัญญา เกิดพฤติกรรมซุกซนก้าวร้าว ปัสสาวะรดที่นอน มีผลการเรียนที่แย่ลง หรือมีปัญหาสังคมสำหรับเด็กได้

อาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ

  • นอนกรนดังมากเป็นประจำ จนเกิดความรำคาญต่อผู้ที่นอนร่วมห้อง
  • รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นบ่อย มีอาการไม่สดชื่น
  • คอแห้ง
  • ปวดศีรษะเป็นประจำตอนเช้า
  • ง่วงนอนมากผิดปกติในระหว่างวัน
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ดี
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  • มีผู้อื่นสังเกตเห็นว่าหายใจไม่สม่ำเสมอและมีเสียงกรนดังแต่หยุดเป็นช่วง ๆ

การตรวจวินิจฉัย

  1. การซักประวัติเกี่ยวกับสุขภาพการนอน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ
  2. การตรวจร่างกายหาความผิดปกติศีรษะ ใบหน้า คอ จมูก และช่องปากอย่างละเอียด
  3. การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องตรวจการนอนหลับ (polysomnography)

แนวทางการรักษา

  1. การดูและและปฏิบัติตัวเบื้องต้น ได้แก่ การปรับสุขอนามัยการนอน งดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนนอน หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาคลายกล้ามเนื้อ
  2. ในรายที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก ควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. การรักษาจำเพาะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ
  4. การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) โดยมีหลักการคือเครื่องจะเป่าลมและใช้แรงดันลมเป็นตัวพยุง ด้วยแรงดันพอที่จะเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนบนไว้ตลอดเวลาขณะหลับ
  5. การใช้เครื่องมือทันตกรรม เพื่อป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ
  6. การรักษาด้วยการผ่าตัด

ที่มา : ศูนย์ตรวจการนอนหลับกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/snoring/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท