Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

วิธีการดูแลผู้สูงวัยให้มีสุขภาพดี


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

17-03-2022 18:56

วิธีการดูแลผู้สูงวัยให้มีสุขภาพดี

ภาพประกอบเคส

  1. การเลือกอาหาร ในผู้สูงอายุร่างกายจะมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากโดยเฉพาะปลา ถั่ว หรือไข่ขาวและเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ ควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และดื่มน้ำสะอาด

  2. ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อยๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้น จนถึงระดับและระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ผ่อนลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุด เพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว แต่ควรมีผู้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด

  3. พาผู้สูงอายุไปรับอากาศบริสุทธิ์บ้าง อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ๆบ้าน สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือโรคติดต่อบางชนิดได้

  4. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม เน้นออกกำลังเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และหลัง เลือกทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่

  5. ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เพิ่มหรือลดมากจนเกินไป โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัว ลดปัญหาการหกล้ม และชะลอความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ โดยเฉพาะ โรคไขข้อเสื่อม และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือเอายาของผู้อื่นมาใช้ เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษหรือผลข้างคียงจากยา และอาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด

  7. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น มีแผลแล้วเป็นเรื้อรังไม่หายซะที กลืนอาหารลำบาก กลืนติด กลืนแล้วเจ็บ ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ถ้ามีอาการเหล่านี้ล่ะก็พามาพบแพทย์ดีที่สุด

  8. ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดกรองหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น ปากมดลูก รวมถึงการตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก และตรวจประเมินความจำเพื่อคัดกรองโรคสมองเสื่อมด้วย

ที่มา : โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
http://bit.ly/2t2vvMM


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท