Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

เตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ

17-03-2022 15:14

ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้ประชาชนไทยนั้นมีชีวิตยืนยาวขึ้น โดยผู้ชายไทยเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 72 ปี และผู้หญิงไทยเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 79 ปี ผลโดยรวมทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุไทยมีเพิ่มขึ้นเป็น 17.77 % ในปีนี้ และประชากรกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ การมีปัญหาด้านสุขภาพ และด้านสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สังคมไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับสังคมของผู้สูงอายุ

ภาพประกอบเคส

ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้ประชาชนไทยนั้นมีชีวิตยืนยาวขึ้น โดยผู้ชายไทยเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 72 ปี และผู้หญิงไทยเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 79 ปี ผลโดยรวมทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุไทยมีเพิ่มขึ้นเป็น 17.77 % ในปีนี้ และประชากรกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ การมีปัญหาด้านสุขภาพ และด้านสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สังคมไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับสังคมของผู้สูงอายุ

หลักการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 4 ด้าน

  1. ด้านสุขภาพกาย ผู้สูงอายุมักมีโรคเรื้อรังหลายโรค ได้แก่ โรคที่เกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ เช่น โรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า โรคกระดูกพรุนที่นำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกหักได้ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนจะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และภาวะขาดสารอาหาร
  2. ด้านจิตใจ ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน ซึ่งต้องคอยติดตามป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเหล่านี้
  3. ด้านสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย เรื่องผู้ดูแล ถ้าให้ดีที่สุดน่าจะเป็นลูกหลานของท่านเอง เรื่องเศรษฐกิจฐานะ และเรื่องของสิ่งแวดล้อม ว่าเหมาะสมกับผู้สูงอายุเพียงใดในการดำเนินชีวิต เช่น ทางเดินควรมีราวจับ พื้นไม่ลื่นเพื่อป้องกันภาวะหกล้ม
  4. ด้านความสามารถในการช่วยตัวเองโดยไม่เป็นภาระกับผู้อื่น เช่น การฟื้นฟูบำบัดร่างกายและจิตใจ การมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือ เช่น ไม้เท้า รถเข็น คอกเดิน แว่นตา เครื่องช่วยฟัง ฟันเทียม เป็นต้น

การเริ่มดูแลผู้สูงอายุในบ้าน มีวิธีง่าย ๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น

  1. ด้านสุขภาพ มีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ ซึ่งตรงนี้ต้องหมั่นดูแลว่าท่านเป็นโรคเรื้อรังอยู่หรือไม่ ตรวจเช็คสุขภาพแล้วหรือยัง ทานยาสม่ำเสมอหรือไม่
  2. การฟื้นฟูบำบัด ผู้สูงอายุเวลาเจ็บป่วยท่านไม่ได้หายทันใดต้องมีการฟื้นฟูบำบัดเป็นระยะ
  3. ด้านสังคม ผู้ดูแลควรให้ความใกล้ชิด ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เหมาะในการที่จะป้องกันการเกิดการบาดเจ็บการหกล้ม จึงทำให้เราต้องสนใจให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นพิเศษ
  4. การส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

ที่มา : ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1349


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท