Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

การป้องกันภาวะขาดน้ำในผู้สูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

17-03-2022 15:02

ภาวะขาดน้ำพบได้ง่ายในผู้สูงอายุเนื่องจากมวลกล้ามเนื้อที่ลดลงทำให้น้ำในร่างกายของผู้สูงอายุลดลงตามไป การตอบสนองต่อความกระหายน้ำลดลงทำให้ไม่ดื่มน้ำ ร่างกายจึงไม่ได้น้ำชดเชยเท่ากับที่สูญเสียไป

ภาพประกอบเคส

ภาวะขาดน้ำพบได้ง่ายในผู้สูงอายุเนื่องจากมวลกล้ามเนื้อที่ลดลงทำให้น้ำในร่างกายของผู้สูงอายุลดลงตามไป การตอบสนองต่อความกระหายน้ำลดลงทำให้ไม่ดื่มน้ำ ร่างกายจึงไม่ได้น้ำชดเชยเท่ากับที่สูญเสียไป

นอกจากนี้ความเสื่อมของร่างกายยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำไม่เพียงพอ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ไตวาย หกล้มง่าย ข้อเข่าเสื่อม ซึมเศร้า สมองเสื่อมทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ เนื่องจากสภาพจิตใจหรือมีความยากลำบากในการเข้าห้องน้ำ ต้องพึ่งพาผู้ดูแลหรือไม่มีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือ

โรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ต้องได้รับยาขับปัสสาวะ ทำให้น้ำในร่างกายน้อยลง ตลอดจนปัญหาช่องปากที่ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร ปัญหาตาทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน และอาการมือสั่นขณะหยิบจับจึงไม่อยากไปหาน้ำดื่ม

ภาวะขาดน้ำ มีอาการดังนี้

  • ชีพจรเร็วกว่า 120 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทำให้วิงเวียนศีรษะ เป็นลมง่ายหมดสติ มีภาวะสับสน
  • เยื่อบุปากแห้งความยืดหยุ่นของผิวหนังลดลงมาก
  • มีปริมาณปัสสาวะผิดปกติเพราะไตไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ในภาวะขาดน้ำ ทำให้ปริมาณปัสสาวะในระยะแรกของภาวะขาดน้ำไม่ลดลงจนกระทั่งเข้าสู่ระยะสุดท้ายทำให้หัวใจล้มเหลว

ภาวะขาดน้ำจะแสดงอาการชัดเจนก็ต่อเมื่อมีความรุนแรงแล้ว ดังนั้น ควรกันไว้ดีกว่าแก้โดยผู้ดูแลควรจัดหาน้ำให้ดื่มวันละ 8 แก้วผู้สูงอายุและกระตุ้นให้ดื่มทุกชั่วโมง จัดหาเครื่องดื่มที่ผู้สูงอายุชอบให้ใช้แก้วมีหูจับสะดวก หรือให้ดูดจากหลอดนอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากพบโรคควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/8-cup/


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท