Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงอายุ


หมวดหมู่หลัก: ผู้สูงวัย

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

17-03-2022 14:11

โรคกระดูกพรุน คือ โรคชนิดหนึ่งซึ่งมวลกระดูกลดน้อยลง มักเกิดกับสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เกิดจากอัตราการสร้างและการทำลายกระดูกที่ไม่สมดุลกัน

ภาพประกอบเคส

โรคกระดูกพรุน คือ โรคชนิดหนึ่งซึ่งมวลกระดูกลดน้อยลง มักเกิดกับสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เกิดจากอัตราการสร้างและการทำลายกระดูกที่ไม่สมดุลกัน โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์จะมีการสร้างและทำลายกระดูกอยู่ตลอดเวลาและอยู่ในสมดุล แต่มีบางภาวะที่อาจส่งผลให้การสร้างและทำลายมวลกระดูกผิดปกติ เช่น ในคนที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงลดน้อยลง ส่งผลให้มีการทำลายกระดูกมากขึ้นและสร้างได้น้อยลง มวลกระดูกโดยรวมจึงลดน้อยลงกลายเป็นโรคกระดูกพรุนในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน

  • กระดูกเสียความแข็งแรง กระดูกหักง่าย
  • เคลื่อนไหวได้ลดลง ช่วยเหลือตัวเองลำบาก
  • หลังโกง หลังค่อม
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ปอดบวม
  • ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
  • โลหิตเป็นพิษ
  • เดินไม่ได้/พิการ
  • แผลกดทับ (กรณีเป็นผู้ป่วยติดเตียง)

กระดูกข้อสะโพกหักจากกระดูกพรุน เป็นภาวะที่มีอันตรายสูง และถึงกับเสียชีวิตได้ ภาวะกระดูกหักหากเกิดในผู้สูงอายุจะรักษาได้ยาก เพราะกระดูกหักในผู้สูงอายุจะติดช้า มีภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก บางรายอาจถึงแก่ชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนกระดูกสะโพกหัก อาจทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพตามมา หรือเสียชีวิตได้สูง ภายใน 1-2 ปี

การรักษาโรคกระดูกพรุน

  • รักษาด้วยยา
  • ผ่าตัด
  • กายภาพบำบัด

การรักษาภาวะกระดูกสะโพกหักจากกระดูกพรุน

ภาวะกระดูกสะโพกหักเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุนที่อันตรายและทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น การผ่าตัดโดยเร็ว ภายใน 48-72 ชั่วโมง เพื่อยึดตรึงกระดูกหักให้แข็งแรง และการผ่าตัดแบบแผลเล็กบาดเจ็บน้อย ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดและการเลือกใช้ยาที่เหมาะสม วิธีเหล่านี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้อย่างมาก และสามารถฟื้นฟูร่างกายกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

การสังเกตตัวเองถึงแนวโน้มของการเป็นโรคกระดูกพรุน

  • วัดส่วนสูง หากพบว่าเตี้ยลงกว่าตอนวัยหนุ่มหรือวัยสาวมากกว่า 4 เซนติเมตร ควรพบแพทย์
  • ทบทวนตัวเองว่าเคยกระดูกหักง่ายมาก่อนหรือไม่ มีกระดูกหักง่ายในครอบครัวหรือไม่ หากใช่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจละเอียด

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีแคลเซียม เมื่ออายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • ออกกำลังกายในท่าลงน้ำหนักที่เท้า เช่น กระโดดเชือก วิ่ง เดิน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ที่มา : รายการพบหมอรามา
https://bit.ly/2GH2bGv


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท