Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน


โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน

< กลับหน้าหลัก

สัญญาณเตือนมะเร็งปอด


หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว

หมวดหมู่ย่อย: เจ็บป่วยทั่วไป

15-03-2022 14:41

มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย การตรวจคัดกรองให้พบโรคในระยะแรกทำได้ยาก และมีอัตราการตายสูง ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการคัดกรองโรคมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมักจะเป็นโรคในระยะที่ลุกลามไปแล้ว ทำให้การตรวจพบโรคในระยะแรกทำได้ยาก และมีอัตราตายสูง วิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันจึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

ภาพประกอบเคส

มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย การตรวจคัดกรองให้พบโรคในระยะแรกทำได้ยาก และมีอัตราการตายสูง ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการคัดกรองโรคมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมักจะเป็นโรคในระยะที่ลุกลามไปแล้ว ทำให้การตรวจพบโรคในระยะแรกทำได้ยาก และมีอัตราตายสูง วิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันจึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด ได้แก่

1.การสูบบุหรี่รวมถึงยามวนต่างๆ เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคมะเร็งปอด ผู้สูบบุหรี่อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 เท่า รวมถึงผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เองโดยตรง แต่สูดดมจากบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบก็มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เพราะในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด

2.ได้รับแร่ใยหิน (แอสเบสตอส) เป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค ฉนวนกันความร้อน ผู้เสี่ยงคือผู้ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแอสเบสตอสปนเปื้อนเป็นเวลานาน อาจใช้เวลา 15-35 ปี ในการทำให้เกิดมะเร็งปอด สำหรับผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ทำงานกับฝุ่นแอสเบสตอส อาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า

3.สาเหตุอื่นๆ มลภาวะเช่น PM 2.5 สารเบนซิน ฟอร์มาลดีฮายด์ เป็นต้น

อาการที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งปอด ได้แก่

  • ไอเรื้อรังติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์
  • ไอเป็นเลือดหรือมีเสมหะปนเลือด
  • เจ็บหน้าอก
  • น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือมีปอดติดเชื้อซ้ำซาก

อาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาการที่เฉพาะ อาจพบในโรคอื่นได้ เช่น วัณโรคปอด หากมีอาการสงสัยต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งปอดแพทย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติร่วมตัดสินใจ โดยพิจารณาจากชนิดของมะเร็ง ระยะโรคและการลุกลาม ความแข็งแรงของผู้ป่วยเป็นหลัก

แนวทางการรักษา

มีทั้งการผ่าตัด การใช้ยา การฉายแสง หรือรักษาร่วมกันหลายวิธี การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, กรมการแพทย์
https://bit.ly/3K0O7Ei


สอบถาม
เพิ่มเติมกับ
แชทบอท