คนตกน้ำ จมน้ำ ช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไร
หมวดหมู่หลัก: ดูแลตัวเองและครอบครัว
หมวดหมู่ย่อย: อื่นๆ
15-03-2022 14:37
หากเราต้องพบเจอกับสถานการณ์ที่มีคนตกน้ำ หรือจมน้ำ แน่นอนว่าทุกคนต้องตกใจจนทำอะไรไม่ถูก โดยเฉพาะคนที่ตกน้ำเองยิ่งมีความตกใจและตะเกียกตะกายเอาชีวิตรอด หรือไม่มีสติในการช่วยเหลือตนเอง สิ่งหนึ่งที่ผู้พบเจอต้องทำโดยเร็วคือตั้งสติ เรียกให้คนช่วยและมองหาอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ วันนี้เราจะมาพูดถึงการช่วยเหลือเบื้องตนเพื่อเป็นการลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกันค่ะ
หากเราต้องพบเจอกับสถานการณ์ที่มีคนตกน้ำ หรือจมน้ำ แน่นอนว่าทุกคนต้องตกใจจนทำอะไรไม่ถูก โดยเฉพาะคนที่ตกน้ำเองยิ่งมีความตกใจและตะเกียกตะกายเอาชีวิตรอด หรือไม่มีสติในการช่วยเหลือตนเอง สิ่งหนึ่งที่ผู้พบเจอต้องทำโดยเร็วคือตั้งสติ เรียกให้คนช่วยและมองหาอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ วันนี้เราจะมาพูดถึงการช่วยเหลือเบื้องตนเพื่อเป็นการลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกันค่ะ
การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือคนตกน้ำ
- โยนอุปกรณ์ที่ไม่มีเชือกผูก เช่น ขวดน้ำพลาสติก ถังแกลลอน โยนอุปกรณ์หลายๆ ใบ ให้ตกตรงหน้าผู้ประสบภัย การใส่น้ำเล็กน้อยในอุปกรณ์ จะทำให้อุปกรณ์มีน้ำหนักช่วยให้สามารถโยนได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
- โยนอุปกรณ์ที่มีเชือก เช่น ถังแกลลอนผูกเชือก ถุงเชือก โดยอุปกรณ์ให้ข้ามศีรษะผู้ประสบภัยเพื่อให้เชือกตกลงไปกระทบตัวผู้ประสบภัย ทั้งนี้เชือกที่ใช้ต้องมีความอ่อนตัว ไม่บิดเป็นเกลียว
- ยื่นอุปกรณ์ เช่น ไม้ โดยย่อตัวลงต่ำเพื่อไม่ให้ถูกผู้ประสบภัย ยื่นอุปกรณ์ไปด้านข้างของผู้ประสบภัยแล้วจึงวาดอุปกรณ์เข้าไปหาตัวผู้ประสบภัย (เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุปกรณ์โดนหน้าผู้ประสบภัย)
การช่วยเหลือเบื้องต้น
- ตะโกน ขอความช่วยเหลือ ให้คนรอบข้างได้รู้ว่ามีคนตกน้ำ และมีคนรีบมาช่วย
- โยน อุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ให้ผู้ประสบภัยจับ เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า ห่วงชูชีพ
- ยื่น อุปกรณ์ให้ผู้ประสบภัยจับ เช่น ไม้ เชือก เสื้อ กางเกง ผ้าขาวม้า เข็มขัด
- การสาวไม้ดึงคนตกน้ำเข้าหาฝั่ง
กรณีคนตกน้ำอยู่ไกลฝั่ง และหากจำเป็นจะต้องลงไปช่วยควรนำอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ติดตัวไปด้วย และโยนให้ผู้ประสบภัยจับ (ห้ามให้คนตกน้ำสัมผัสร่างกายคนช่วยเหลือ เพราะด้วยความตกใจอาจทำให้กดดันผู้ช่วยเหลือให้จมน้ำได้)
การปฐมพยาบาล
- เมื่อพบเจอผู้ตกน้ำ จมน้ำ ให้รีบโทรศัพท์แจ้งหมายเลข 1669 หรือหน่วยพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด
- ห้ามจับผู้ประสบภัยอุ้มพาดบ่า กระโดด หรือวิ่งรอบสนาม เพื่อเอาน้ำออก
- จับผู้ประสบภัยนอนราบลงบนพื้นแห้ง และแข็ง
- ตรวจสอบดูว่าผู้ประสบภัยรู้สึกตัวหรือไม่ โดยใช้มือทั้งสองข้างจับไหล่เขย่า พร้อมเรียกเสียงดังๆ
- กรณีรู้สึกตัว เช็ดตัวผู้ประสบภัยให้แห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้า และห่มผ้าเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและนำส่งโรงพยาบาลทันที
- กรณีที่ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนอง ให้ทำดังนี้
- ให้ทำการช่วยหายใจ ดังนี้ เปิดทางเดินหายใจโดยการกดหน้าผาก เชยคางผู้ประสบภัยขึ้น เป่าปากโดยวางปากครอบปากผู้ตกน้ำ บีบจมูก เป่าลมเข้า ให้ผู้ป่วยหน้าอกยกขึ้น (เป่าปาก 2 ครั้ง)
- กดนวดหัวใจ โดยวางส้นมือขนานกับแนวกึ่งกลางหน้าอก (กึ่งกลางหัวนมทั้ง 2 ข้าง) ประสานมือ แขนตั้งฉาก กดหน้าอกให้ยุบประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของหน้าอก ความเร็ว 100 ครั้งต่อนาที นวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับเป่าปาก 2 ครั้ง ทำจนกว่าผู้ประสบภัยจะรู้สึกตัวและหายใจได้เอง
- จบผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง โดยให้ศีรษะหงายไปข้างหลังเพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น งดน้ำและอาหาร และนำส่งโรงพยาบาลทันที
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/971820210122034549.pdf